กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5881
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการหมอดินอาสากับงานพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาหมอดินอาสาจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Mordin Arsa project involving land development : a case study of Mordin Arsa in Chacherngsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย
เยาวเรช นามวิจิตร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
โครงการหมอดินอาสา
โครงการ--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน 3) เพื่อศึกษา แนวทางเพื่อใชัปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการหมอดินอาสา กลุ่มตัวอย่างได้แก่เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับโครงการหมอดินอาสาจำนวน 6 คน หมอดินอาสาดีเด่นที่เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 1 คน หมอดินอาสาดีเด่นของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 18 คนและหมอดินอาสาดีเด่นที่ เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ของกรมพัฒนาที่ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ กี่งมีโครงสรัาง เป็นการสัมภาษณ์ในเชิง ลึก วิเคราะห์ข้อมูล จากเอกสารและผลการสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาและกลุ่มคำหรือประโยค นำมาจัด หมวดหมู่และเขียนรายงาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินโครงการหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน ใช้รูปแบบการ บริหารงานแบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในลักษณะบูรณาการของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ภายในกรมพัฒนาที่ดิน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของเกษตรกรภายในท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการหมอดินอาสาของ กรมพัฒนาที่ดินได้แก่ การมีความเข้าใจในภารกิจของโครงการฯ เป็นอย่างดีของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินและหมอดินอาสา การได้รับการสนับสนุนจากนักบริหารระดับสูง การจำแนก โครงสรัางงานไปตามหน้าที่ของหน่วยงาน การประชุมเพื่อสรัางการยอมรับในงานก่อนมอบหมายงาน การมีความเช้าใจในสภาพแวดล้อมและให้ความสำคัญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโครงการหมอดินอาสา รวมทั้ง การแก้ไขปัญหานอกเหนือความคาดหมายได้ดี 3) ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการหมอดินอาสา ได้แก่ ผู้บริหารควรไปศึกษาปัญหาที่ต้นเหตุกับหมอดินอาสาโดยตรง ควรมีการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมให้กับหมอดินอาสาโดยเฉพาะหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ควรมีการประชาสัมพันธ์งานพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง และควรดำเนินการแก้ไขระบบการเบิกจ่ายปัจจัยการ ผลิตให้ทันเวลาและเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร ทั้งนี้ผลการศึกษาจากการประเมินโครงการหมอดินอาสากับงานพัฒนาที่ดินในภาพรวมสอดคล้องกับผลจากการศึกษาหมอดินอาสาจังหวัดฉะเชิงเทรา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5881
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108665.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons