Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเฉลิมศรี บรรจง, 2514- ผู้แต่ง.th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-05-09T03:22:38Z-
dc.date.available2023-05-09T03:22:38Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5885-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับมาตรการชะลอการฟ้องคดีอาญา โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนศึกษาปัญหาที่ไม่สามารถนำมาตรการนี้มาบังคับใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและระบบฎหมายของไทยและนําไปบังคับใช้ได้อยางเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ตําราวิชาการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทําการศึกษาวิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่ามาตรการชะลอการฟ้องคดีอาญาเป็นมาตรการเบี่ยงเบนหรือหันเหคดีให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่มุ่งเน้นความ สมานฉันท์ด้วยการคํานึงถึงผู้เสียหายการให้โอกาสผู้กระทําผิดกลับตนเป็นคนดี แก้ไขในสิ่งที่กระทําตลอดจนสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ วัตถุประสงค์สําคัญของมาตรการคือต้องการให้ความผิดในคดีอาญาบางประเภทยุติในชั้นก่อนฟ้องคดีและนําวิธีการอื่นมาบังคับใช้แทนการจําคุก มาตรการนี้เป็นวิธีบริหารจัดการคดีของภาครัฐที่ให้พนักงานอัยการมีอํานาจใช้ดุลพินิจสั่งชะลอการฟ้องและกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ และให้อัยการสูงสุดมีอํานาจตรวจสอบคําสั่งชะลอการฟ้องโดยไม่มีองค์กรภายนอกเข้าร่วมตรวจสอบอีก จึงเป็นลักษณะการตรวจสอบตามลําดับชั้นสาย งานภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งการใช้อํานาจของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลควร ต้องมีองค์กรอื่นร่วมตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันความสุจริต ความเสมอภาคของกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งบทบัญญัติบางมาตราในกฎหมายนี้ไม่คุ้มครองสิทธิของบุคคล เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาการนํามาตรการดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข้ กฎหมายเพื่อให้สามารถนํามาบังคับใช้ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์สมเจตนารมณ์ของกฎหมายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการชะลอการฟ้องth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา : ศึกษาระบบชะลอการฟ้องth_TH
dc.title.alternativeAlternative measures to criminal prosecution : deferred prosecution systemen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to study the origin, concepts, theories and laws related to measures to delay criminal prosecution. By comparing the laws of Japan As well as studying problems that cannot be implemented in Thailand to propose solutions to be consistent with the criminal justice system and the Thai legal system and to be used appropriately. This independent study was conducted by way of a qualitative research through examination of documents, studying of legislative provisions, legal text books in Thai and foreign languages, articles, researches, thesis and online information and all of which were gathered, studied, analyzed and organized systematically. It is found that measures to defer criminal prosecution is the measures to divert a criminal case from criminal justice procedures by implementing alternative restorative justice procedures by taking into account the victims, giving the perpetrators the opportunity to reform, correct their wrongdoings and reintegrate into the society. The purpose of this measures is to conclude a criminal case of certain criminal offenses in a pre-trial phase and implement other measures instead of imprisonment. It is a case management method of the State which allows public prosecutors to exercise their discretion to defer prosecutionand specify the conditions of probation whereby the attorney-general has the authority to review such deferring order without being inspected by other organization. Hence, the inspection will be conducted only in accordance with the levels of authority within the same organization. The exercise of power by the State which affects the rights and liberty of an individual should be inspected by other organization to ensure good faith and equality in the justice system. Moreover, certain provisions under this legislation do not protect the rights of individual and these form the problems of implementing such measures in Thailand. The author recommends that the legislation is amended to ensure that it can be truly enforceable and serve its legislative objectivesen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159594.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons