Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5885
Title: มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา : ศึกษาระบบชะลอการฟ้อง
Other Titles: Alternative measures to criminal prosecution : deferred prosecution system
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศรี บรรจง, 2514- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การชะลอการฟ้อง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับมาตรการชะลอการฟ้องคดีอาญา โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนศึกษาปัญหาที่ไม่สามารถนำมาตรการนี้มาบังคับใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและระบบฎหมายของไทยและนําไปบังคับใช้ได้อยางเหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ตําราวิชาการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทําการศึกษาวิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่ามาตรการชะลอการฟ้องคดีอาญาเป็นมาตรการเบี่ยงเบนหรือหันเหคดีให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยนํากระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่มุ่งเน้นความ สมานฉันท์ด้วยการคํานึงถึงผู้เสียหายการให้โอกาสผู้กระทําผิดกลับตนเป็นคนดี แก้ไขในสิ่งที่กระทําตลอดจนสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ วัตถุประสงค์สําคัญของมาตรการคือต้องการให้ความผิดในคดีอาญาบางประเภทยุติในชั้นก่อนฟ้องคดีและนําวิธีการอื่นมาบังคับใช้แทนการจําคุก มาตรการนี้เป็นวิธีบริหารจัดการคดีของภาครัฐที่ให้พนักงานอัยการมีอํานาจใช้ดุลพินิจสั่งชะลอการฟ้องและกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ และให้อัยการสูงสุดมีอํานาจตรวจสอบคําสั่งชะลอการฟ้องโดยไม่มีองค์กรภายนอกเข้าร่วมตรวจสอบอีก จึงเป็นลักษณะการตรวจสอบตามลําดับชั้นสาย งานภายในองค์กรเท่านั้น ซึ่งการใช้อํานาจของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลควร ต้องมีองค์กรอื่นร่วมตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันความสุจริต ความเสมอภาคของกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งบทบัญญัติบางมาตราในกฎหมายนี้ไม่คุ้มครองสิทธิของบุคคล เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาการนํามาตรการดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข้ กฎหมายเพื่อให้สามารถนํามาบังคับใช้ได้จริงและก่อให้เกิดประโยชน์สมเจตนารมณ์ของกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5885
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159594.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons