Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5907
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโรงเรียนกำแพงเพชรวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
Other Titles: The relationships between school adminstrators' supervision on academic affairs and learning achievement of students at Kamphaeng Phet Pitayakom School under Secondary Education Service Area Office 41
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลลิตา เหลาอ่อน, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--ไทย--กำแพงเพชร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 (2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 97 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีค่าความเที่ยง .97 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจำแนกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับการนิเทศมากที่สุดคือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านเทคนิคและวิธีการสอนของครู ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร ด้านส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการผลิตและการใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอนตามลำดับ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้เรียงจากระดับดีลงไปตามลำดับได้แก่ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ และ (3) การนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5907
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons