กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5913
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting learning organization of Patai Udom Suksa School personnel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิสุทธิมรรค อำนักมณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
โรงเรียนไผทอุดมศึกษา
การเรียนรู้องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการ เรึยนรู้ของบุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษา (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษา (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษา จำนวน 170 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การ ทดสอบเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มึผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรโรงเรียนไผทอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการบริหารการจัดการ ด้านบุคลากรและทีมงาน ด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านบรรยากาศและ วัฒนธรรมการเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นปัจจัยด้านการจูงใจ อยู่ในระดับมาก (2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และระยะเวลาในการทำงานที่ต่างกัน มืผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่า โรงเรียนควรกำหนดตัวบ่งชี้ในบางยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจน จัดสายงานบังคับบัญชาให้มีความกระชับและยืดหยุ่น กระจายอำนาจและให้อิสระแก่ ทีมงาน มีกลไกการนิเทศให้ครอบคลุมทุกหน่วยงาน อบรมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยึสารสนเทศ ใหม่ ๆ ผู้บริหารควรมีการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาให้กับบุคลากรในการทำงาน การประเมินผล การปฏิบัติงานหรือประกาศเกียรติคุณ ควรมีหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและเป็นธรรม และควร เสริมสร้างประเพณีที่สืบทอดความภูมิใจในโรงเรียน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5913
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108678.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons