Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5916
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สัจจา บรรจงศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | ยอดขวัญ วิภาคกิจ, 2515- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-05-10T06:18:24Z | - |
dc.date.available | 2023-05-10T06:18:24Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5916 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชน 3) ปัญหาและแนวทางการจัดการของวิสาหกิจชุมชน ประชากร คือ กรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้บ้านป่าป๋วย จำนวน 38 ราย กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มตามวิธีการเก็บข้อมูล (1) การสอบถามจากประชากรทั้งหมดโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง (2) การสัมภาษณ์เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 ราย สมาชิก 10 ราย การวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ (1) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การจำแนกและจัดชั้นข้อมูล การอธิบายความเป็นเหตุและผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานสมาชิกเป็นเพศชายร้อยละ 55.3 อายุเฉลี่ย 52.5 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญา ส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานภาพทางสังคม จำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่มี 2 ถึง 3 คน จำนวนแรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน 2 คน อาชีพหลักส่วนใหญ่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น อาชีพรองส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไป รายได้ในครัวเรือน 50,000-100,000 บาท/ปี หนี้สินในครัวเรือน 50,000-100,000 บาท/ปี แหล่งเงินทุนใช้เงินทุนตนเองหรือครอบครัว ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง ขนาดการถือครองที่ดินและการใช้พื้นที่ทำการเกษตร 1-5 ไร่ 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชน มีโครงสร้างกลุ่ม ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายประสัมพันธ์ พนักงานบัญชี เหรัญญิก และเลขานุการ แผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน มีแผนการเรียนรู้ แผนการผลิต และแผนการตลาด ด้านกระบวนการควบคุม ใช้กฎระเบียบหรือข้อตกลง ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ การผลิต การตลาด และการจัดการเงินทุน 3) ปัญหาและแนวทางการจัดการของวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้ (1) ปัญหาด้านการจัดการกลุ่ม โดยการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกและการติดตามให้ข้อแนะนำในการผลิตอย่างต่อเนื่อง (2) ปัญหาด้านการจัดการผลิต โดยวางแผนการผลิต การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุนการผลิตและการแปรรูป และการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อรับซื้อผลผลิต (3) ปัญหาด้านการจัดการตลาด โดยนำกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดมาใช้ (4) ปัญหาด้านจัดการกองทุน โดยการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (5) ปัญหาด้านการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการจำแนกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และการบริการส่งมอบเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้บริโภค | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ลำพูน | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร | th_TH |
dc.title | การจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้บ้านป๋วย ตำบลบ้านป่าโฮ่ง จังหวัดลำพูน | th_TH |
dc.title.alternative | Community enterprise management : a case study of Ban Pa Puy Vegetable Herbs and Fruits Products Development Community Enterprise, Ban Hong Subdistrict, Ban Hong District, Lamphun Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research had the purpose to study 1) basic information on the socio-economic status of members of the Ban Pa Puy Vegetable, Herbs and Fruits Products Development Community Enterprise in Ban Hong Subdistrict, Ban Hong District, Lamphun Province; 2) management of the community enterprise; and 3) problems and management guidelines of Community Enterprise Management. The study population was all 38 members and directors of the Ban Pa Puy Vegetable, Herbs and Fruits Products Development Community Enterprise. There were 2 sample groups according to the data collection method: (1) a survey was done of all the members; (2) for qualitative data, interviews were held with 5 of the enterprise committee members and 10 regular members. Data analysis consisted of (1) quantitative data were analyzed by the use of descriptive statistics, including frequency, distribution, percentage, minimum and maximum values, average, and standard deviation; and (2) qualitative data were analyzed by the use of the classification of the data and the explanation of cause and effect. The results showed that 1) 55.3% of the members were male with an average age of 52.5 years. Most graduated high school, vocational certificate, or diploma. Most did not hold any special position in the community. Most households consisted of 2 to 3 members. The average number of agricultural workers per household was 2. Most owned fruit farms as their main occupation. The secondary occupations were general workers. Most households had an income of 50,000-100,000 baht per year and debt of 50,000-100,000 baht per year. The main sources of funding were self-funded or family-funded. Most owned some land. The average land area and the agricultural area were 1600-8000 square meters. 2) Enterprise management structure consisted of a president, vice president, production department, marketing department, public relations department, accountant, and secretary. The Community Enterprise Plan is made up of an education plan, production plan, and marketing plan. The control process consisted of using rules or agreements. Operations consisted of implementation of the planned activities for education, production, marketing, and funds management. 3) The enterprise's problems were as follows (1) Group management issues. It can be solved by arranging knowledge and exchanging activities between members and knowledge on mass production. (2) Production management issues. The solution is planning production, implementing technology to reduce production costs and finding a network to sell the produce. (3) Market management issues. The solution is applying the mixed marketing strategy. (4) Fund management issues, which can be solved by taking out a loan from the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. (5) Potential risk management issues can be addressed by creating diversity for produce and products, quality control and delivery service to help the products reach more consumers. | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License