กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5916
ชื่อเรื่อง: การจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้บ้านป๋วย ตำบลบ้านป่าโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community enterprise management : a case study of Ban Pa Puy Vegetable Herbs and Fruits Products Development Community Enterprise, Ban Hong Subdistrict, Ban Hong District, Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยอดขวัญ วิภาคกิจ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ลำพูน
การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชน 3) ปัญหาและแนวทางการจัดการของวิสาหกิจชุมชน ประชากร คือ กรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้บ้านป่าป๋วย จำนวน 38 ราย กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มตามวิธีการเก็บข้อมูล (1) การสอบถามจากประชากรทั้งหมดโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง (2) การสัมภาษณ์เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 ราย สมาชิก 10 ราย การวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ (1) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การจำแนกและจัดชั้นข้อมูล การอธิบายความเป็นเหตุและผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานสมาชิกเป็นเพศชายร้อยละ 55.3 อายุเฉลี่ย 52.5 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญา ส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานภาพทางสังคม จำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่มี 2 ถึง 3 คน จำนวนแรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน 2 คน อาชีพหลักส่วนใหญ่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น อาชีพรองส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไป รายได้ในครัวเรือน 50,000-100,000 บาท/ปี หนี้สินในครัวเรือน 50,000-100,000 บาท/ปี แหล่งเงินทุนใช้เงินทุนตนเองหรือครอบครัว ส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง ขนาดการถือครองที่ดินและการใช้พื้นที่ทำการเกษตร 1-5 ไร่ 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชน มีโครงสร้างกลุ่ม ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายประสัมพันธ์ พนักงานบัญชี เหรัญญิก และเลขานุการ แผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน มีแผนการเรียนรู้ แผนการผลิต และแผนการตลาด ด้านกระบวนการควบคุม ใช้กฎระเบียบหรือข้อตกลง ด้านการดำเนินกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ การผลิต การตลาด และการจัดการเงินทุน 3) ปัญหาและแนวทางการจัดการของวิสาหกิจชุมชน มีดังนี้ (1) ปัญหาด้านการจัดการกลุ่ม โดยการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกและการติดตามให้ข้อแนะนำในการผลิตอย่างต่อเนื่อง (2) ปัญหาด้านการจัดการผลิต โดยวางแผนการผลิต การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุนการผลิตและการแปรรูป และการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อรับซื้อผลผลิต (3) ปัญหาด้านการจัดการตลาด โดยนำกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดมาใช้ (4) ปัญหาด้านจัดการกองทุน โดยการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (5) ปัญหาด้านการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการจำแนกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย การควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และการบริการส่งมอบเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้บริโภค
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5916
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons