Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5918
Title: | การผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกรที่มีการผลิตตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Strawberry production and marketing adhering to good agricultural practice by farmers in Borkhaew Sub-district, Samoeng District, Chiang Mai Province |
Authors: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา ธวัชชัย ประทักษ์ใจ, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | สตรอว์เบอร์รี--การปลูก สตรอว์เบอร์รี--การตลาด |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี 2) กระบวนการผลิตสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) สภาพการตลาดของเกษตรกรผู้ผลิตสตรอว์เบอร์รี ตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) แนวทางการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 41 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ได้รับแรงจูงใจในการปลูกสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเกษตรกร มากกว่าครึ่งเรียนรู้ด้วยตนเอง เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคการเกษตรไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี มีรายจ่ายในครัวเรือน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับเงินทุนของตนเอง เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 2.20 ไร่ มีประสบการณ์เฉลี่ย 2.66 ปี 2) กระบวนการผลิตสตรอว์เบอร์รีตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรมากกว่าครึ่งใช้แหล่งน้ำที่ไม่ได้ผ่านชุมชนและคอกสัตว์ ส่วนใหญ่พื้นที่ผลิตไม่เคยเป็นพื้นที่ทิ้งขยะ โรงเก็บสารเคมี หรือพื้นที่คอกสัตว์ สถานที่เก็บสารเคมีทางการเกษตรอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยแยกเป็นหมวดหมู่และเก็บรวมกัน เกษตรกรใช้สารเคมีตามคำบอกเล่าของเกษตรกรแปลงข้างเคียงและตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ มีการอ่านฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากฉีดพ่นสารเคมี 5 วัน หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต ตามจำนวนวันที่ระบุในฉลากหลังจากฉีดพ่นสารเคมี ผลผลิตเก็บไว้ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทและวางผลผลิตบนที่รอง 3) สภาพการตลาด พบว่า สตรอว์เบอร์รีที่ผู้บริโภคนิยมคือ พันธุ์พระราชทาน 80 มากที่สุด รองลงมาคือพันธุ์ 329 ผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อถึงไร่ แม้ว่าเกษตรกรมีการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายแต่ราคายังถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลางตามขนาดของผลผลิต ราคาผลผลิตสาหรับจำหน่ายเพื่อบริโภคสด ราคาเฉลี่ย 80.54 บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายเพื่อส่งโรงงาน ราคาเฉลี่ย 42.80 บาทต่อกิโลกรัม 4) ปัญหาด้านการผลิตที่พบ คือ เกษตรกรไม่มีเงินทุนเป็นของตนเองและปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ส่วนปัญหาด้านการตลาดที่พบ คือ ราคาผลผลิตตกต่า และขาดอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาสินค้า และ 5) แนวทางการพัฒนา ระบบการผลิตและการตลาดสตรอว์เบอร์รีคือ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการผลิตและการตลาด และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ร่วมกับมาตรฐานการผลิตให้กับผลผลิต พร้อมกำหนดมาตรฐานราคาและคุณภาพผลผลิตให้ชัดเจน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5918 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
153201.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License