กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5923
ชื่อเรื่อง: การบริหารการพัฒนาการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานการจ้างงาน ศึกษากรณีสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development administration of Migrant labour protection according to employment standards : a case study of Tak Provincial Office of Labour of Labour Protection and Welfare
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป
เมตตา จิระแสงเมืองมา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
การคุ้มครองแรงงาน
แรงงานต่างด้าว--การจ้างงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานื้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารการพัฒนาการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานการจ้างงาน,ของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดตากในด้านโครงสร้าง อำนาจหนัาที่ และวิธีการดำเนินงานในอดีตและในปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารการพัฒนาการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารการพัฒนา การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานการจ้างงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ พนักงานราชการและ เจ้าหน้าที่ทั่วไปของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตากรวบจำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบและวิเคราะห์สรุป ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารการพัฒนาการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐาน การจ้างงานด้านโครงสร้างในปัจจุบันเหลือพนักงานตรวจแรงงานน้อยกว่าในอดีต ด้านอำนาจ หน้าที่พบว่าปัจจุบันอำนาจหน้าที่ของพนักงานตรวจแรงงานไม่เบ็ดเสรีจเท่ากับในอดีต และด้านวิธีการดำเนินงานพบว่าการติดตามสิทธิประโยชน์ให้แรงงานต่างด้าวล่าช้ากว่าในอดีต (2) ปัญหาด้านโครงสร้างพบว่าการตั้งฝ่ายนิติการเป็นการตัดอัตรากำลังพนักงานตรวจแรงงานให้ลคลง ด้านอำนาจหน้าที่พบว่า พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้ดำเนินคดีเองจึงทำให้อำนาจในการบังคับใช้ กฎหมายไม่เข้มแข็งและด้านวิธีการดำเนินงานพบว่าขั้นตอนการดำเนินคคีมีผลต่อความล่าช้าใน การติดตามสิทธิประโยชน์ (3) ข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างควรมีการเปลี่ยบรูปแบบใหม่ ด้านอำนาจ หน้าที่ควรคืนอำนาจในการดำเนินคดีให้พนักงานตรวจแรงงาน และด้านวิธีการดำเนินงาน ควรให้พนักงานตรวจแรงงานเป็นผู้ดำเนินคดีเอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5923
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108680.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons