กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5971
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนยางพาราในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting decision making of farmers on oil palm plantation replacing para rubber in Khao Phanom District of Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ ตาดทอง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน--การปลูก--ไทย--กระบี่
เกษตรกร--การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักจากการเลี้ยงหมูหลุม และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไรซ์เบอร์รี่ (2) ต้นทุนและผลตอบแทนจากการใช้ปุ๋ยหมักจากการเลี้ยงหมูหลุมและปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผลการวิจัยพบว่า (1) มีผลของอิทธิพลร่วมระหว่างอัตราปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีต่อจำนวนเมล็ดดีต่อรวงของข้าวไรซ์เบอร์รี่อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่พบว่ามีผลของอิทธิพลร่วมระหว่างอัตราปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมีต่อความสูง จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง เปอร์เซนต์เมล็ดลีบ น้ำหนักรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิตต่อไร่ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ (p>0.05) ในส่วนของปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ พบว่า มีผลต่อน้าหนักรวง และผลผลิตต่อไร่อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) และปุ๋ยหมักอัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ มีผลต่อความสูงและเปอร์เซนต์เมล็ดลีบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 และ100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดิน พบว่า มีผลทำให้ความสูง จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนักรวง และผลผลิตต่อไร่มีค่าเฉลี่ยมากกว่าอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) (2) การวิเคราะห์ต้นทุน พบว่า ปุ๋ยหมักอัตรา 2,000 กิโลกรัม /ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดิน มีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดเท่ากับ 9,327.94 บาท และปุ๋ยหมักอัตรา 0 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 0 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ต่าที่สุดเท่ากับ 5,527.30 บาท ขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทน พบว่า ปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัม /ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุดเท่ากับ 6,266.61 บาท และปุ๋ยหมักอัตรา 2,000 กิโลกรัม /ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 0 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อไร่ต่ำที่สุดเท่ากับ 2,956.84 บาท จากผลการวิจัย สามารถสรุปได้ว่า การใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2,000 กิโลกรัม /ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าวิเคราะห์ดิน จะส่งผลการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ดีที่สุด ขณะที่ต้นทุนการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัม /ไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 100% ของค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนดีที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5971
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153715.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons