Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5972
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภคในจังหวัดบึงกาฬ
Other Titles: Factors affecting consumers' brown rice buying behavior in Bueng Kan Province
Authors: อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิเชษฐ์ เหลาเวียง, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าวกล้อง--การจัดซื้อ--ไทย--บึงกาฬ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคข้าวกล้องในจังหวัดบึงกาฬ 2) พฤติกรรมการซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภค 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภค 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภค และ 5) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-4 คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีรายได้ 1-2 คน รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนมากที่สุดที่ 10,001 - 20,000 บาท 2) พฤติกรรมการซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภคคือ ส่วนใหญ่ซื้อเพราะข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ชนิดของข้าวกล้องที่ซื้อเป็นประจำคือ ข้าวกล้องทั่วไป ชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อเป็นแบบสุญญากาศ ขนาดบรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม ความถี่ในการซื้อคือ เดือนละ 1 ครั้ง ปริมาณ ที่ซื้อในแต่ละครั้งคือ 1 กิโลกรัม ผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อคือตนเอง ข้าวกล้องที่ซื้อมาจากผู้ผลิตคือเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรมากที่สุด เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย แหล่งที่ซื้อมากที่สุดคือร้านค้าของกลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชน รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้าวกล้องจากโทรทัศน์มากที่สุด และในอนาคตจะซื้อข้าวกล้องเพื่อการบริโภคต่อแน่นอน 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวกล้องของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนก เป็นรายด้าน พบว่า ด้านราคาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวกล้อง ได้แก่ อายุมีผลต่อความถี่ในการซื้อและปริมาณที่ซื้อ ระดับการศึกษามีผลต่อชนิดบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อ อาชีพมีผลต่อชนิดของข้าวกล้อง ที่ซื้อ ชนิดบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อ ความถี่ในการซื้อ และกลุ่มผู้ผลิตที่ซื้อ และรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนมีผลต่อปริมาณที่ซื้อ โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 5) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ทั้งสี่ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อข้าวกล้อง โดยปัจจัยผลิตภัณฑ์มีผลต่อชนิดบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อและกลุ่มผู้ผลิตที่ซื้อ ราคามีผลต่อชนิดของข้าวกล้องที่ซื้อและขนาดบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อ การจัดจำหน่ายมีผลต่อชนิดของข้าวกล้องที่ซื้อ และการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อชนิดของข้าวกล้องที่ซื้อ ชนิดบรรจุภัณฑ์ที่ซื้อ และกลุ่มผู้ผลิตที่ซื้อโดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5972
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153717.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons