กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5979
ชื่อเรื่อง: การจัดการศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Pest management in paddy field by farmer at Don Chedi Sub-district, Phanom Thuan District, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรรยา สิงห์คา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมหญิง ทับทิมศรี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษ
คำสำคัญ: ศัตรูพืช--การควบคุม--ไทย
ศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืช.
ยากำจัดศัตรูพืช
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) แหล่งความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร (3) วิธีการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชในนาข้าว ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายคิดเป็นร้อยละ 54.8 มีอายุอยู่ในช่วง 51 – 60 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำนาอยู่ระหว่าง 21 – 30 ปี รายได้ของครัวเรือนอยู่ระหว่าง 100,001 บาท ถึง 200,000 บาทต่อปี มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,014.28 บาทต่อไร่ ในฤดูนาปีส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี1 ซึ่งมีพื้นที่ถือครองอยู่ระหว่าง 11 ไร่ ถึง 20 ไร่ มีการใช้แรงงานทั้งในครัวเรือนและแรงงานจ้างระหว่าง 1 คน ถึง 2 คน ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส.และใช้เป็นแหล่งเงินกู้ยืมหลัก ศัตรูพืชที่เกษตรกรพบในนาข้าวที่สาคัญ ได้แก่ โรคถอดฝักดาบ หนอนกอข้าว นก และหญ้าข้าวนก มีการเลือกใช้สารเคมีในการกาจัดมากที่สุด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการจัดการศัตรูข้าวแต่ละประเภท ได้แก่ โรคข้าว แมลงศัตรูข้าว และวัชพืชในนาข้าว เท่ากับ 20.30, 53.97 และ 337.56 บาทต่อไร่ ตามลำดับ เจ้าหน้าที่ของรัฐนับว่าเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด การจัดการศัตรูพืชในนาข้าวพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการสำรวจศัตรูพืชในนาข้าวก่อนตัดสินใจเลือกใช้วิธีการควบคุมและกำจัด แต่วิธีการที่เกษตรกรเลือกใช้นั้น คือ สารเคมีซึ่งไม่สามารถควบคุมและกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวได้ โดยเกษตรกรยังขาดความรู้ในการจัดการศัตรูพืชโดยเฉพาะการจำแนกชนิดศัตรูพืชและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่ถูกต้อง ทั้งนี้เกษตรกรได้เสนอความต้องการด้านความรู้และวิธีการที่สามารถควบคุมและกำจัดศัตรูพืชในนาข้าว ดังนั้น แนวทางการจัดการศัตรูพืชในนาข้าวที่จะประสบความสำเร็จควรได้จากรูปแบบการจัดการศัตรูพืชโดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นได้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5979
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155139.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons