Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/597
Title: | การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง |
Other Titles: | Environmental-case-related mediation in administrative court |
Authors: | มาลี สุรเชษฐ วรินทร ชยวัฑโฒ, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประพจน์ คล้ายสุบรรณ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ศาลปกครอง การไกล่เกลี่ย |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ีผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้คือ 1. ความสำคัญ และสภาพปัญหาของการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง 2. แนวคิดและทฤษฎี เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท ด้านสิ่งแวดล้อม ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน 3. มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมัน และประเทศญี่ปุ่น 4. วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของการนำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในศาลปกครอง และ 5. เพื่อค้นคว้าหามาตรการที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง งานวิจัยฉบับนี้ีเป็นการวิจัยทางกฎหมายในเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารต่างๆ ดังเช่น บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ ตํารา บทความ คําพิพากษาของศาลปกครอง รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวของทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับคดีปกครองอื่น ซึ่งยังไม่มีบทบัญญัติให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ผู้ศึกษา ขอเสนอให้ยกเลิกความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การดําเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการฟ้อง การร้องสอด การเรียกบุคคล หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเป็นคู่กรณีในคดีการดำเนินกระบวนพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐาน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการพิพากษาคดีปกครอง นอกจากที่บัญญัติไว้ แล้วในพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่่ประชุม ใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด” และ เพิ่มมาตรา 60/1 ความว่า “ ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลปกครองชั้นต้น หากตุลาการศาลปกครองเห็นสมควรหรือคู่กรณีร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้ศาลดำเนินการใหเป็นไปตามนั้น” |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/597 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib135317.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License