Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5989
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน
Other Titles: Factors relating to performance of agricultural extension officers in the Upper Northern
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อายุมงคล แสนปัญญา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การส่งเสริมการเกษตร--ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) ประสิทธิภาพการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 53.7 เป็นเพศชาย ส่วนมาก มีอายุระหว่าง 51-60 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 48.10 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 34,604.59 บาท มีประสบการณ์ทำงานที่อื่นก่อนมารับราชการที่กรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1.95 ปี มีอายุราชการเฉลี่ย 24.12 ปี มีจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 1,216.40 ครัวเรือน มีระยะทางไกลสุดระหว่างสำนักงานถึงพื้นที่ที่รับผิดชอบ เฉลี่ย 30.45 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 28.14 นาที 2) การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับการทำงานพบว่า เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานในระดับมาก มีความคิดเห็นในการทำงานในระดับปานกลาง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในระดับมาก มีความศรัทธาต่อผู้นำอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อการจัดฝึกอบรมในระดับปานกลาง 3) การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก โดยพิจารณารายด้านแล้วปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีประสิทธิภาพการทำงานในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการถ่ายทอดความรู้ ด้านการให้บริการ ด้านการปฏิบัติงานตามนโยบาย และด้านการประสานงาน 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเชิงบวก ได้แก่ อายุราชการ ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ความคิดเห็นในการทำงาน ความศรัทธาต่อผู้นำ และการฝึกอบรม และมี 1 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์เชิงลบคือ จำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบ 5) ปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ ขอบเขตงานไม่ชัดเจน และมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอต่อการทำงานในพื้นที่ และ นโยบายต้องมีความชัดเจนไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5989
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156048.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons