Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5991
Title: การใช้ตะกอนบ่อบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำมันรำข้าวในการปลูกผักบุ้งจีน
Other Titles: Usage of sludge from rice bran oil factory for growing water convolvulus (ipomea aquatic forsk.)
Authors: ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สวลี สวัสดิ์แก้ว, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การนำกลับมาใช้ใหม่
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลของตะกอนบ่อบาบัดน้าเสียต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักบุ้งจีน และ (2) ผลของตะกอนบ่อบาบัดน้ำเสียต่อการสะสมโลหะหนักในดินและผักบุ้งจีน ผลการวิจัย พบว่า 1) การเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน ผักบุ้งจีนอายุ 7 วันหลังหว่านเมล็ด ที่ได้รับตะกอนบ่อบำบัด 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงต้นมากที่สุดเท่ากับ 1.7 เซนติเมตร และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับทรีตเมนต์อื่น (p<0.05) ผักบุ้งจีนอายุ 15 วันหลังหว่านเมล็ด ที่ได้รับตะกอนบ่อบำบัด 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักสดต้น น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากมากที่สุด เท่ากับ 5.900 0.540 0.516 และ 0.057 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และแตกต่างกับทรีตเมนต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผักบุ้งจีนอายุ 21 วันหลังหว่านเมล็ด ที่ได้รับตะกอนบ่อบำบัด 700 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงและความกว้างใบมากที่สุดเท่ากับ 23.7 และ 1.7 เซนติเมตร ตามลำดับ มีน้ำหนักสดต้น น้ำหนักสดราก น้ำหนักแห้งต้น และน้ำหนักแห้งรากมากที่สุด เท่ากับ 12.780 1.360 1.288 และ 0.207 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และแตกต่างกับทรีตเมนต์อื่นอย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) และผักบุ้งจีนอายุ 25 วันหลังหว่านเมล็ด ที่ได้รับตะกอนบ่อบำบัด 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักสดต้น น้ำหนักสดราก และน้ำหนักแห้งต้นมากที่สุด เท่ากับ 25.130 2.020 และ 2.159 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และไม่แตกต่างกับผักบุ้งที่ได้รับตะกอนบ่อบำบัด 700 กิโลกรัมต่อไร่ และยูเรีย แต่แตกต่างกับทรีตเมนต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) 2) โลหะหนักที่สะสมในดินและผักบุ้งจีน พบว่า ดินก่อนปลูกมีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด และเมื่อวิเคราะห์ดินหลังเก็บเกี่ยวทุกทรีตเมนต์มีปริมาณแคดเมียมสูงกว่าค่ามาตรฐานเช่นกัน แต่ปริมาณสารหนู โครเมียม ทองแดง และตะกั่ว มีปริมาณน้อยกว่าค่าตามมาตรฐาน และไม่พบปรอท ส่วนผักบุ้งจีนที่ได้รับปุ๋ยยูเรียทาให้มีปริมาณตะกั่วในผักบุ้งจีนสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กาหนด ดังนั้นการปลูกพืชควรมีการวิเคราะห์โลหะหนักในดินก่อนการปลูกพืช เพื่อลดการสะสมโลหะหนักในพืช อย่างไรก็ตามการใช้ตะกอนบ่อบำบัดในดิน ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมากขึ้น และค่า pH เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5991
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156051.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons