Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิภาวัลย์ ใจวงค์เป็ง, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-05-15T07:02:44Z-
dc.date.available2023-05-15T07:02:44Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5995-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคม เศรษฐกิจของผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (2) ความรู้ และความพึงพอใจของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (3) ผลกระทบด้านต่างๆของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมยางเชียงราย ผลการวิจัย ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ พบว่า 1) ผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือร้อยละ 70.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.18 ปีส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและประกอบธุรกิจประเภทค้ายางซึ่งจดทะเบียนในรูปแบบบุคคลธรรมดา ในจำนวนผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือทั้งหมด 57 รายนั้นมีผู้ปลูกยางพาราเพียง 12 รายซึ่งร้อยละ 50.0 มีจำนวนพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ที่ 51-100 ไร่และมีผลผลิตเฉลี่ย 1263.33 ตัน/ปี ร้อยละ 56.1 ของผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีพื้นที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจยางพารามากกว่า 200 ตารางวา มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจยางพาราโดยเฉลี่ย 4.84 ปี ร้อยละ 42.1 ใช้ระยะทางจากสถานประกอบธุรกิจถึงศูนย์ฯมากกว่า 110 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยผู้ประกอบธุรกิจยางพารามาติดต่อกับศูนย์ฯ 1.49 ครั้ง/ปี ใช้ต้นทุนเฉลี่ย 598.25 บาท/ครั้ง 2) ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจยางพารา ร้อยละ 35.1 มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ในระดับมากที่สุด โดยเฉลี่ย 11.53 คะแนน จาก 16 คะแนน 3) ความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯอยู่ในระดับมาก 4) ผลกระทบในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบในการตั้งศูนย์ฯอยู่ในระดับมาก 5) ปัญหา ในการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ฯ พบว่า ในภาพรวมแล้วผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ฯอยู่ในระดับน้อย ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงราย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงรายเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 29.62 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ร้อยละ62.5 มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ในระดับมากที่สุด โดยเฉลี่ย 13.62 คะแนน จาก 16 คะแนน 3) ความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 4) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯต่อบทบาทการปฏิบัติงานพบว่าในภาพรวมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัญหาในการพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯพบว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงรายมีความคิดเห็นว่าปัญหาอยู่ในระดับน้อยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectศูนย์ควบคุมยางเชียงราย--ความพอใจของผู้ใช้บริการth_TH
dc.titleการดำเนินงานและผลกระทบของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือth_TH
dc.title.alternativeThe operation and impact of the Chiang Rai Rubber Regulatory Center to rubber businesses in the Northernen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study (1) fundamental socio-economic circumstance of rubber business in the northern (2) knowledge and satisfactory of the Chiang Rai Rubber Regulatory Center to rubber business in the northern (3) various impacts of the Chiang Rai Rubber Regulatory Center toward rubber business in the northern (4) problems and suggestions for developing operations of the Chiang Rai Rubber Regulatory Center. Population in this study included a number of 57 rubber businessmen in the northern who had been provided with services from the Chiang Rai Rubber Regulatory Center in the fiscal year 2016. All of them and all 8 responsible officials at the Center were selected. Tool used in collecting data was interview form. Statistics used were frequency, percentage, maximum value, minimum value, mean and standard deviation. Research results: For the rubber businessmen in the northern, it was found 70.2% of them were male, married and graduated with bachelor degree. Their average age was 44.18 years. They run rubber business by registered as ordinary people type. 12 out of 57 businessmen were rubber planters and only 50.0% had rubber planting area between 51-100 rai. Their average yield was 1,263.33 ton/year. 56.1% of the rubber businessmen had more than 200 square wah as the compound for running rubber business. Their average experience in running rubber business was 4.84 years. 42.1% traveled from their business site over 110 kilometers to the Center. Their average contact with the Center was 1.49 times/year spending 598.25 baht/time. (2) Their knowledge about the Rubber Control Act B.E.2542 was at the highest level; with the average 11.53 scores from 16 scores. (3) The satisfactory towards the establishment of the Center was found by overall, the rubber businessmen were satisfied with the Center establishment at high level. (4) Impact on the establishment of the Center was at high level in the businessmen’s view. (5) Problem in improving the Center’s rendering services was discovered at low level. In terms of officials at the Chiang Rai Rubber Regulatory Center, it was learned as follows. (1) The officials were female, single and graduated at bachelor level. Their average age was 29.62 years. (2) 62.5% gained knowledge relating the Rubber Control Act B.E.2542 at the highest level with the average 13.62 scores from 16 scores. (3) Satisfactory over the establishment of the Center; the officials’ satisfactory was found at middle level. (4) Opinion towards the Center’s officials operation role was found at middle level. (5) Problem in developing the Center’s officials operation role, their opinion was found at low level.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159137.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons