กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5995
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานและผลกระทบของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operation and impact of the Chiang Rai Rubber Regulatory Center to rubber businesses in the Northern
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาวัลย์ ใจวงค์เป็ง, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ศูนย์ควบคุมยางเชียงราย--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคม เศรษฐกิจของผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (2) ความรู้ และความพึงพอใจของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (3) ผลกระทบด้านต่างๆของศูนย์ควบคุมยางเชียงรายต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมยางเชียงราย ผลการวิจัย ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือ พบว่า 1) ผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือร้อยละ 70.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.18 ปีส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและประกอบธุรกิจประเภทค้ายางซึ่งจดทะเบียนในรูปแบบบุคคลธรรมดา ในจำนวนผู้ประกอบธุรกิจยางพาราในภาคเหนือทั้งหมด 57 รายนั้นมีผู้ปลูกยางพาราเพียง 12 รายซึ่งร้อยละ 50.0 มีจำนวนพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ที่ 51-100 ไร่และมีผลผลิตเฉลี่ย 1263.33 ตัน/ปี ร้อยละ 56.1 ของผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีพื้นที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจยางพารามากกว่า 200 ตารางวา มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจยางพาราโดยเฉลี่ย 4.84 ปี ร้อยละ 42.1 ใช้ระยะทางจากสถานประกอบธุรกิจถึงศูนย์ฯมากกว่า 110 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยผู้ประกอบธุรกิจยางพารามาติดต่อกับศูนย์ฯ 1.49 ครั้ง/ปี ใช้ต้นทุนเฉลี่ย 598.25 บาท/ครั้ง 2) ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจยางพารา ร้อยละ 35.1 มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ในระดับมากที่สุด โดยเฉลี่ย 11.53 คะแนน จาก 16 คะแนน 3) ความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯอยู่ในระดับมาก 4) ผลกระทบในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบในการตั้งศูนย์ฯอยู่ในระดับมาก 5) ปัญหา ในการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ฯ พบว่า ในภาพรวมแล้วผู้ประกอบธุรกิจยางพารามีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ฯอยู่ในระดับน้อย ในส่วนของเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงราย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงรายเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 29.62 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ร้อยละ62.5 มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ในระดับมากที่สุด โดยเฉลี่ย 13.62 คะแนน จาก 16 คะแนน 3) ความพึงพอใจในการตั้งศูนย์ฯ พบว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 4) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯต่อบทบาทการปฏิบัติงานพบว่าในภาพรวมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 5) ปัญหาในการพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯพบว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมยางเชียงรายมีความคิดเห็นว่าปัญหาอยู่ในระดับน้อย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5995
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159137.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons