Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5996
Title: การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของเกษตรกรในอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The extension and development of Nam Dok Mai Mango production of farmers in Wang Thong District of Phitsanulok Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภพิชญ์ บุญทั่ง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะม่วงน้ำดอกไม้--การผลิต
เกษตรกร--ไทย--พิษณุโลก
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตมะม่วงนํ้าดอกไม้ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมะม่วงนํ้าดอกไม้ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 49.98 ปี มีประสบการณ์การผลิตมะม่วงนํ้าดอกไม้เฉลี่ย 11.84 ปี มีขนาดพื้นที่ปลูกมะม่วงนํ้าดอกไม้เฉลี่ย 14.6 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วเฉลี่ย 12.33 ไร่ เป็นพื้นที่ของตนเองและมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด น.ส.3 ก. และ ส.ป.ก.4-01 ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 99.3 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ร้อยละ 71.1 เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรมีรายได้จากการขายมะม่วงนํ้าดอกไม้เฉลี่ย 150,879 บาท/ปี หรือ 12,236.74 บาท/ไร่ คิดเป็นกำไรเฉลี่ย 5,138.44 บาท/ไร่ มีรายจ่ายจากการผลิตมะม่วงนํ้าดอกไม้เฉลี่ย 87,522 บาท/ปี และมีรายจ่ายค่าต้นทุนรวมเฉลี่ย 40,984.52 บาท/ไร่/ปี (2) สภาพทั่วไปในการผลิตพบว่าเกษตรกรมีการปฏิบัติด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการดูแลรักษาในระยะให้ผลผลิต การกำจัดโรคและแมลง การดูแลรักษาในระยะต้นเล็ก และการปลูก ตามลำดับ ส่วนการปฏิบัติตามเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) พบว่าเกษตรกรปฏิบัติในระดับมากทุกประเด็น ยกเว้นการบันทึกข้อมูลแหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต การสำรวจศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด ที่พบกว่าเกษตรกรปฏิบัติในระดับน้อย (3) ปัญหาของเกษตรกรในภาพรวมพบว่ามีปัญหาเรื่องโรคและแมลง ต้นทุนการผลิตสูง และราคาผลผลิตไม่ชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะ คือ เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐหาตลาดรองรับผลผลิตที่มั่นคงและจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลผลิตเพื่อการจำหน่ายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง (4) เกษตรกรได้รับความรู้ในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงนํ้าดอกไม้ระดับมากในประเด็นการกำจัดโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษา เกษตรกรมีความต้องการเนื้อหาอยู่ในระดับมากและมากที่สุดทุกประเด็น ได้แก่ การตลาด โรคและแมลง และการปฏิบัติตามเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เกษตรกรต้องการสื่อบุคคลราชการเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ แผ่นพับ และคู่มือ ตามลำดับ ส่วนอันดับสุดท้ายคืออินเตอร์เน็ต และต้องการวิธีการส่งเสริมด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการบรรยาย การสาธิต และการทัศนศึกษา ตามลำดับ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5996
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159317.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons