กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5999
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีชี้วัดทางการเงินกับผลตอบแทน ของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of the relationship between financial indexes and stock return in the Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยานี ภาคอัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุวดี ไชยศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพียร ตังกนะภัคย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย--หุ้นสามัญ--อัตราผลตอบแทน
หุ้นและการเล่นหุ้น--อัตราผลตอบแทน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทของดัชนีชี้วัดทางการเงินในการ อธิบายการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) ระบุดัชนีชี้วัดทางการเงินดัชนีหลักที่แสดงความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นสามัญในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีชี้วัดทางการเงินแต่ละดัชนี ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทจด ทะเบียนจำนวน 164 บริษัท สำหรับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนธันวาคม 2548 และดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำหรับระยะเวลาเดียวกัน ในการวิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของ ดัชนีชี้วัดทางการเงินกับผลตอบแทนของหุ้นสามัญ ใช้สมการถดถอยแบบภาคตัดขวาง และใช้ค่า สหสัมพันธ์ของเพียรสัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีชี้วัดทางการเงินแต่ละดัชนี สำหรับการ ทดสอบค่าสัมประสิทธิจากสมการถดถอยใช้ค่าทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ดัชนีชี้วัดทางการเงินไม่ได้แสดงบทบาทสำคัญในการอธิบายการ เคลื่อนไหวของผลตอบแทนของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่มีดัชนีชี้วัดทางการเงินดัชนีใดเลยที่สามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของ หุ้นสามัญได้ (2) อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวม คือ ดัชนีชี้วัดทางการเงินเพียงดัชนีเดียว ที่แสดงความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยค่าสถิติทีเท่ากับ 2.5207 และ (3) ดัชนีชี้วัดทางการเงินแต่ละดัชนีมีความสัมพันธ์กันในระดับ ค่อนข้างตํ่า ยกเว้นมูลค่าเพื่มทางการตลาด มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ และกระแสเงินสดอิสระ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/5999
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
108708.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons