กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6002
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of oil palm production technology by farmers in Patew District of Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ริยาพันธ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มนํ้ามันของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มนํ้ามันของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตปาล์มนํ้ามันของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.86 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือ 6 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประสบการณ์ในการปลูกปาล์มนํ้ามันเฉลี่ย 13.83 ปี จำนวนสมาชิกและแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.81 และ 2.55 คน ตามลำดับ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดและเป็นของตนเองเฉลี่ย 27.76 และ 25.63 ไร่ ตามลำดับ การประกอบอาชีพของครัวเรือนทั้งหมด คือการทำสวนปาล์มนํ้ามัน รองลงมา คือการทำสวนยางพารา มีพื้นที่ปลูกปาล์มนํ้ามันเฉลี่ย 17.96 ไร่ จำนวนต้นปาล์มนํ้ามันเฉลี่ย 21.37 ต้นต่อไร่ อายุเฉลี่ย 13.14 ปี ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2,855.15 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.96 บาท ในรอบปีการผลิต 2559 เกษตรกรมีรายได้และรายจ่ายจากการผลิตปาล์มนํ้ามันเฉลี่ย 237,460.00 และ 62,037.57 บาท ตามลำดับ แหล่งเงินทุนใช้ทุนของตนเอง การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยสื่อกิจกรรมอยู่ในระดับมากจากการจัดฝึกอบรม และงานวันเกษตร (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตปาล์มนํ้ามันในระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตปาล์มนํ้ามันเชิงความคิดเห็นในภาพรวมระดับมาก และระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และด้านพันธุ์ปาล์มและการปลูก ตามลำดับ ส่วนการยอมรับทคโนโลยีนำไปปฏิบัติระดับมากถึงมากที่สุดเกือบทุกประเด็น ยกเว้นปฏิบัติระดับน้อยใน 3 ประเด็นของการดูแลรักษา ในเรื่องตัดแต่งช่อดอกทิ้งในช่วงต้นปาล์มอายุ 1-2 ปี การวิเคราะห์ดินก่อนการใส่ปุ๋ย และการให้นํ้าเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้นในช่วงแล้งติดต่อกันนาน 3-5 เดือน (4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตปาล์มนํ้ามันในภาพรวมระดับปานกลาง และมีปัญหาระดับมากในเรื่องปุ๋ยเคมีราคาสูง ขาดแคลนแรงงานในการจัดการก่อนให้ผลผลิต ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และขาดความรู้เรื่องชนิดของปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม โดยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการและการบำรุงดูแลรักษาปาล์มนํ้ามันอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6002
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159829.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons