Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/601
Title: การพัฒนาบทเรียนทางเว็บเรื่องการค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Other Titles: Development of web-based instruction on searching for thesis and research databases by graduate students at Nakhorn Ratchasima Rajabhat University
Authors: สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
วนิดา นเรธรณ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พวา พันธุ์เมฆา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
การค้นคืนสารสนเทศ
วิทยานิพนธ์--ฐานข้อมูล
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนทางเว็บกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติการวิจัยกึ่งทดลองนี้ ประชากรที่ใช้เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ระดับปริญญาโท จำนวนทั้งหมด 213 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนทางเว็บ และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยการสอนตามปกติ โดยการสุ่มแบบเจาะจงได้นักศึกษาทั้งสิ้น จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ไช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการสอนตามปกติในชั้นเรียนและแผนการสอนโดยใช้บทเรียนทางเว็บแบบทดสอบวัดผลสมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง .20 - .80 ค่าอำนาจจำแนก .20 ชั้นไป และมีค่าความเที่ยงด้านเนี้อหาเท่ากับ 0.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยเมื่อพิจารณาแยกตามวัตถุประสงค์การเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวม 2 ด้าน คือ ด้านผู้เรียนสามารถเลือกฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่จะค้นได้ และด้านผู้เรียนสามารถแสดงผลการค้นได้ขณะเดียวกันกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1 ด้าน คือ ด้านผู้เรียนสามารถกำหนดคำค้นได้
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/601
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (7).pdfเอกสารฉบับเต็ม6.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons