Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/607
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามมาตรการหลักป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Factors related to the main standard implementation of prevention and control of Dengue Hacmorrhagic Fever among sub-district health personnels in Suphan Buri province
Authors: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เยาวภา ติอัชสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
การเวก สงสกุล, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ไทย--สุพรรณบุรี
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยสำรวจภาคดัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคล กระบวนการบริหาร และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน (2) การดำเนินงานตามมาตรการหลักป้องกันและควบคุมโรคไข้เสือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลจังหวัดสุพรรณบุรี (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล กระบวนการบริหาร และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานกับการดำเนินงานตามมาตรการหลักป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 174 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 39.94 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ อายุราชการเฉลี่ย 18.56 ปี และระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 12.17 ปี กระบวนการบริหารอยู่ในระดับสูง และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) การดำเนินงานตามมาตรหลักป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานตามมาตรหลักป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ กระบวนการบริหารในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขาดการมีส่วนร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขาดสื่อสุขศึกษาในการประชาสัมพันธ์ จำนวนบุคลากรและงบประมาณไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรสนับสนุนการฝึกอบรมในการจัดทำแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร่วมกันระหว่างหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับสถานีอนามัย สนับสนุนสื่อสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ให้เพียงพอ และจัดสรรบุคลากรรวมทั้งงบประมาณให้เพียงพอ
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/607
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118395.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons