Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6110
Title: | การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง |
Other Titles: | Protection and rectification of the problem of cultural deviance by Ranong Cultural Office |
Authors: | จีระ ประทีป สุรพันธ์ นะแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมพงศ์ มีสมนัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง วัฒนธรรม--แง่สังคม |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและแกัไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง และ (3) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินการป้องกันและแกัไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนองการดำเนินการวิจัยเป็นแบบลักษณะการวิจัยเชิงสำรวจ และผสมผสานการวิขัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ (1) ข้าราชการและหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐสังกัดหน่วยงานด้านส่งเสริมวัฒนธรรม และสังกัดหน่วยงานด้านการตรวจสอบ/จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับสื่อตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์พ.ศ.2551 (2) บุคคลและองค์กรภาคประชาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้านวัฒนธรรม จำนวน 311 คน เครื่องมีอ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟ่เฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) การป้องกันและแกัไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง ประกอบด้วย การเฝ้าระวังสื่อที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่งานด้านวัฒนธรรมในทางเสื่อมเสีย การเฝ้าระวังการใช้ชีวิตในการบริโภคที่ไม่เหมาะสม และการเฝ้าระวังเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมได้แก่ กลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมที่มีความชัดเจน บุคลกรที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาปฏิบัติงานอย่างจริงจัง และองค์กรที่ทำหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด (3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง ได้แก่ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับแก้ไขปรับปรุงนโยบายต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมสื่อที่อาจเป็นภัยต่อเด็ก นอกจากนี้ กลยุทธ์ในระดับกระทรวง ระดับจังหวัด และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จะต้องสอดคล้องกันด้วย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6110 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
109961.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License