กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6124
ชื่อเรื่อง: การกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The prisoner' recidivism : a case study of Pattaya Remand Prison, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิมิตร จันทร์จารุ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
เรือนจำพิเศษพัทยา
การกระทำผิดซ้ำ
นักโทษ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังใน เรือนจำพิเศษพัทยา จังหวัดชลบุรีและ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ปัจจัยทางจิตวิทยาของผู้ต้องขัง ปัจจัยแวดล้อมภายในเรือนจำของผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษครั้งหลังสุด และปัจจัยแวดล้อมภายนอกเรือนจำของผู้ต้องขังก่อนต้องโทษครั้งหลังสุดกับพฤติกรรมการกระทำ ผิดซ้ำของผู้ต้องขัง ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้คือ ผู้ต้องขังภายในเรือนจำพิเศษพัทยาทั้งหมด ทั้งผู้ต้องขัง ชายและผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามและแบบวัดมาตรประมาณรวมค่าจำนวน 6 ส่วน ค่าความเที่ยงตั้งแต่ 0.62 ถึง 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจง ความถี่ สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ ไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ต้องขัง ลักษณะทั่วไปและลักษณะที่ เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังมีเพียงเพศเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ ของผู้ต้องขังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยทางจิตวิทยาของผู้ต้องขัง มีระดับความ ประพฤติปฏิบัติตามวิถีทางศาสนาอยู่ในระดับปานกลางและมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยแวดล้อมภายในเรือนจำก่อนพ้นโทษครั้งหลังสุด ผู้ต้องขังที่เคยรับผิดทางวินัยภายในเรือนจำมาก่อนมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ปัจจัยแวดล้อมภายนอกเรือนจำความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6124
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
109963.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons