กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/613
ชื่อเรื่อง: | มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Measures of water environment law enforcement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล ศุภณัฐ ชัยสวัสดิ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ กฎหมายสิ่งแวดล้อม |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงสภาพปัญหา อุปสรรค และมาตรการการบังคับใช้ กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (2) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสาระสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำที่บังคับใช้ในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์มาตรการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางนํ้าในประเทศไทย (4) เสนอแนะแนวทางของปัญหาอุปสรรคและมาตรการ การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางนํ้าให้มีประสิทธิภาพและสามารถบังคับใช้ได้จริง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Decumentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้าจากตํารา หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์วารสาร ทฤษฎีหลักกฎหมาย แนวคําพิพากษาของศาลปกครองกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยและต่างประเทศ และรวมถึงกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ตลอดถึงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์รวมกัน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการวิจัยครั้งนี้เพื่อหา ข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหามาตรการทางกฎหมายการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำเพื่อให้มีผลบังคับ ใช้ได้อย่างแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า (1) การเพิ่มจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและการเกิดมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ เป็นปัญหาในการเกิดมลพิษ และความซ้ำซ้อนของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายมีมากเกินไปรวมทั้ง บทบัญญัติที่ล้าสมัยอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมตลอดถึงการให้อํานาจหน้าที่ และการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตีความ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (2) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครอง สิ่งแวดลอมและสาระสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมทางนำของประเทศไทยซึ่ง เน้นมาตรการการบังคับ คือมีทั้งมาตรการบังคับทางอาญาซึ่งมีบทลงโทษที่ เน้นการป้องกันและปราบปรามส่วนมาตรการทางแพ่งเน้นหลักผู้ก่อให้เกิดมลพิษจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย ส่วนในต่างประเทศจะเน้นการขอความร่วมมือมากกว่าการใช้มาตรการบังคับแต่หากฝ่าฝืนก็มีมาตรการลงโทษทั้งมาตรการทางอาญาจะเป็นบทลงโทษทั้งปรับและจำคุกส่วนมาตรการทางแพ่งจะชดใช้ค่าเสียหาย (3) มาตรการการบังคับใช้ กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำในประเทศไทยนั้น ขาดความเป็นเอกภาพของ กฎหมายกล่าวคือความซ้ำซ้อนของกฎหมายที่บังคับใช้ของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน รวมถึงบทบัญญัติของกฎหมาย มีความล้าสมัยและเป็นการให้อํานาจเจ้าหน้าที่่ใช้ดุลยพินิจบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (4) ข้อเสนอแนะคือ แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ให้เป็นกฎหมายหลักในการควบคุ้ม มลพิษทางน้ำ และกำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่บังคับ ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางน้ำ ตลอดถึงจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในสถานที่ต่าง ๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/613 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib134135.pdf | เอกสารฉบับเต้ม | 19.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License