Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกานดา พูนลาภทวี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorประทุมวรรณ อิศเรนทร์, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-13T09:30:23Z-
dc.date.available2022-08-13T09:30:23Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/614-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินความรู้ความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) ประเมิน เจตคติต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษา ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3) ประเมินกระบวนการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษา ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (4) ประเมินผลผลิตของการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารจํานวน 16 คน และครูผู้สอนจํานวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 196 คน ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามผู้บริหาร และแบบประเมินตนเองของครูผู้สอนเกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์ขอมูลโดยใช้การแจงนับความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1)ด้านความรู้ความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียน ครูมีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การตั้งคําถามเชิงวิจัย การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การตั้งสมมุติฐานการวิจัย การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเลือกเครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและการสรุปผลการวิจัย (2) ด้านเจตคติ ครูที่มีเจตคติต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างดีขึ้นไปร้อยละ 45 (3) ด้านกระบวนการทําวิจัยในชั้นเรียน ครูมีการวิเคราะห์ปัญหาซึ่งปัญหาวิจัยส่วนใหญ่ได้มาจากการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือ/วิธีการที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือการสังเกตและแบบทดสอบโดยครูพัฒนาขึ้นแต่ไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละมากที่สุดและการรายงานผล รายงานในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และ (4) ด้านผลผลิตส่วนใหญ่ ครูทําวิจัยในชั้นเรียนแล้วเสร็จคนละ 1 เรื่อง หัวข้อวิจัยส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาการเรียนการสอน มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยพิมพ์เป็นรายงานการวิจัย และนําผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2003.52-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectห้องเรียน--วิจัยth_TH
dc.subjectครูมัธยมศึกษาth_TH
dc.titleการประเมินการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeAn evaluation of conducting classroom research of secondary school teachers under Ngo Rongrien Sahawittayakhet in Surat Thani provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2003.52-
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to evaluate knowledge and ability for classroom research of secondary school teachers under Ngo Rongrien Sahawittayakhet in Surat Thani Province; (2) to evaluate secondary school teachers’ attitudes toward classroom research; (3) to evaluate secondary school teachers’ process of classroom research; and (4) to evaluate secondary school teachers’ products of classroom research. The population consisted of 16 school administrators and 180 teachers totaling 196 persons under Ngo Rongrien Sahawittayakhet in Surat Thani Province. Instruments for data collection were a questionnaire for administrators and a self–assessment form for teachers on classroom research. Data were analyzed by the frequency, percentage, and content analysis. Research findings were as follows : (1) On knowledge and ability for conducting classroom research, teachers were found to have abilities on the following : problem analysis, formulating research questions, formulating research objectives, formulating research hypotheses, determining research population and sample, selection of research instruments and data collection methods, development of data collecting instruments, and conclusion of research findings. (2) On attitudes toward classroom research, 45 percent of teachers were found to have attitudes toward classroom research at the rather good level or above. (3) On classroom research process, teachers analyzed research problems most of which were on instructional management; the most utilized data collecting methods/ instruments were the observation and tests developed by the teachers themselves without subjecting them to quality assessment; the most utilized statistics for data analysis was the percentage; and research reports were presented informally, (4) On research products, most teachers had completed one research study; the majority of research topics were on solving classroom problems; dissemination of research findings was in the form of research reports; and research findings were applied for solving classroom problem or instructional developmenten_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82915.pdf8.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons