กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/614
ชื่อเรื่อง: การประเมินการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of conducting classroom research of secondary school teachers under Ngo Rongrien Sahawittayakhet in Surat Thani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
กานดา พูนลาภทวี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประทุมวรรณ อิศเรนทร์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ห้องเรียน--วิจัย
ครูมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินความรู้ความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) ประเมิน เจตคติต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษา ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (3) ประเมินกระบวนการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษา ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (4) ประเมินผลผลิตของการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษาในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารจํานวน 16 คน และครูผู้สอนจํานวน 180 คน รวมทั้งสิ้น 196 คน ในสังกัดสหวิทยาเขตเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามผู้บริหาร และแบบประเมินตนเองของครูผู้สอนเกี่ยวกับการทําวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์ขอมูลโดยใช้การแจงนับความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1)ด้านความรู้ความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียน ครูมีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การตั้งคําถามเชิงวิจัย การกําหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การตั้งสมมุติฐานการวิจัย การกําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเลือกเครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและการสรุปผลการวิจัย (2) ด้านเจตคติ ครูที่มีเจตคติต่อการทําวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างดีขึ้นไปร้อยละ 45 (3) ด้านกระบวนการทําวิจัยในชั้นเรียน ครูมีการวิเคราะห์ปัญหาซึ่งปัญหาวิจัยส่วนใหญ่ได้มาจากการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือ/วิธีการที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือการสังเกตและแบบทดสอบโดยครูพัฒนาขึ้นแต่ไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละมากที่สุดและการรายงานผล รายงานในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และ (4) ด้านผลผลิตส่วนใหญ่ ครูทําวิจัยในชั้นเรียนแล้วเสร็จคนละ 1 เรื่อง หัวข้อวิจัยส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาการเรียนการสอน มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยพิมพ์เป็นรายงานการวิจัย และนําผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/614
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82915.pdf8.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons