กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6163
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of organic cassava production according to the participatory guarantee system for farmer in Tansum District, Ubon Ratchathani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สามารถ อภัยโคตร, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--ไทย--อุบลราชธานี--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 2) สภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ 3) ความรู้และการปฏิบัติตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ และ 5) การได้รับและความต้องการรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ในปี 2562 จำนวน 120 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 93 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 72.0 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.12 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สถานภาพสมรส สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.57 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.81 คน มีประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 6.20 ปี มีอาชีพรองรับจ้าง พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 19.85 ไร่ พื้นที่ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์เฉลี่ย 4.95 ไร่ เป็นพื้นที่ของตนเองเฉลี่ย 17.12 ไร่ ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์เฉลี่ย 2,889.25 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,520.43 บาท/ไร่ รายได้จากผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 49,263.44 บาท/ปี 2) เกษตรกรมีการเลือกพื้นที่ปลูก เตรียมการและการปลูก บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอินทรีย์ตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม 3) เกษตรกรมีความรู้และปฏิบัติตามระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมในการผลิต มันสำปะหลังอินทรีย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องการวิเคราะห์สภาพดิน การจัดการแปลงปลูกทั้งระบบ การกำจัดวัชพืช สภาพอากาศไม่อำนวย สายตาไม่ดีไม่สะดวกในการจดบันทึก การขอรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมมีความยุ่งยาก ความผันผวนของราคาผลผลิต และขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากภาครัฐ และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ให้ภาครัฐสนับสนุนปัจจัยการผลิต ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายมันสำปะหลังอินทรีย์ 5) เกษตรกรได้รับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และต้องการความรู้ด้านการเตรียมการและการปลูก การดำเนินงานในรูปแบบเครือข่าย ต้องการช่องทางการส่งเสริมจากสื่อบุคคล (ราชการ) ด้วยวิธีการส่งเสริมแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6163
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons