กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/621
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between academic administration based on the concepts of professional learning community, the trust of teachers, and quality of educational outcomes in Secondary Schools under the Office of Basic Education Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มินตรา ลายสนิทเสรีกุล บัญชา ชลาภิรมย์ ธีรภัทร กุโลภาส |
คำสำคัญ: | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), หน้า 158-174 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวคิดความไว้วางใจของคณะครู และแนวคิดคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การบริหารวิชาการตามแนวคิดความไว้วางใจของคณะครู และการบริหารวิชาการตามแนวคิดคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 333 โรง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ตัวแทนหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และตัวแทนครู 1,020 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNImodified และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการทั้งด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลของทั้งสามกลุ่มแนวคิดอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของทั้งสามกลุ่มแนวคิดอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงที่สุดเป็นอันดับแรก คือ การพัฒนาหลักสูตร อันดับสอง คือ การจัดการเรียนการสอน และอันดับสาม คือ การวัดและประเมินผล และ 2) ความสัมพันธ์ของตัวแปร พบลักษณะความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน โดยการบริหารวิชาการทุกด้านภายใต้แนวคิดเดียวกันมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางถึงสูงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการบริหารวิชาการที่ต่างแนวคิดกัน พบว่า มีเพียงการบริหารวิชาการตามแนวคิดความไว้วางใจของคณะครูกับการบริหารวิชาการตามแนวคิดคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางถึงสูง ในขณะที่ด้านอื่นมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมาก |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/621 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License