กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6231
ชื่อเรื่อง: ทักษะของผู้บริหารที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The skills for promotion of educational management in the 21st Century of administrators in schools under Krabi Primary Education Service Area Offices
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนิรุทธิ์ อมรแก้ว, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ (2) เปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จานวน 322 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์ ทักษะการเป็นผู้นาทางวิชาการ ทักษะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทางานเป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ.05 ส่วนทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6231
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161602.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons