Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนกเทพ เมืองสง-
dc.contributor.authorคณิติณ ช่างเขียน-
dc.contributor.authorกัลยา กินกิ่ง-
dc.contributor.authorพงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ-
dc.date.accessioned2022-08-16T10:30:06Z-
dc.date.available2022-08-16T10:30:06Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.citationวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), หน้า 15-29th_TH
dc.identifier.issn1905-4653-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/634-
dc.description.abstractบทความนี้เป็นการตรวจสอบวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ นำเสนอความหมาย องค์ประกอบของการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ความหมาย ลักษณะสำคัญ รูปแบบหรือแนวการสอนที่ใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ดำเนินการโดยคัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 ผลงาน ซึ่งใช้เกณฑ์คัดกรองคุณภาพ สังเคราะห์ผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการอ่านงานอย่างใคร่ครวญ ตีความ หาคำสำคัญ หาแบบแผนของผลงานวิจัยเพื่อสร้างหัวข้อโดยใช้การเปรียบเทียบข้อมูล ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของผู้เรียนได้หลายด้าน ได้แก่ การใช้ภาษาแบบเป็นทางการ การคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว และการมีมุมมองความคิดที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำให้นักเรียนก้าวข้ามการใช้อารมณ์และสัญชาตญาณในการให้เหตุผลได้ ประเด็นทางสังคมที่นำมาใช้ในการสอนเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมจะต้องน่าสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน ไม่สามารถหาข้อสรุปหรือคำตอบที่ตายตัวได้ และเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกทางจิตใจ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประเด็นทางพันธุวิศวกรรมและการแพทย์ และกลุ่มประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริบทของผู้เรียน เช่น สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ค่านิยมทางศาสนาและความเชื่อทางวัฒนธรรม และบรรยากาศในห้องเรียน และความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนแต่ละคนth_TH
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.subjectวิจัยth_TH
dc.titleการตรวจสอบวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์th_TH
dc.title.alternativeSystematic literature review and research synthesis on the development of moral reasoning by using socioscientific sssues approach in science teachingth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis article aimed to systematically review and synthesize research findings on moral reasoning development using the socioscientific issues approach (SSI) in science teaching. It also presented the crucial components of moral reasoning, the meanings, key features, models or teaching approaches using socioscientific issues. Twelve high-quality research papers were selected by a qualitative screening method. The research findings were synthesized through thoughtful reading, interpreting, searching for essential keywords, identifying emerging research patterns and themes using a comparative method. The synthesis of research indicated that SSI could develop students' moral reasoning in many areas, namely using more formal language, considering long-term effects, having more diverse viewpoints, and avoiding using emotion and instinct in giving reasons. The social issues used in teaching to promote students' moral reasoning should be interesting, controversial, inconclusive, and touching students' minds. These issues were divided into 2 groups: genetic engineering and medical issues, and environmental issues. The factors affecting moral reasoning development included the students' context, such as socio-economic status, religious values, cultural beliefs, classroom environment, and scientific knowledgeen_US
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44255.pdfเอกสารฉบับเต็ม531.24 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons