กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/634
ชื่อเรื่อง: | การตรวจสอบวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Systematic literature review and research synthesis on the development of moral reasoning by using socioscientific sssues approach in science teaching |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กนกเทพ เมืองสง คณิติณ ช่างเขียน กัลยา กินกิ่ง พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ |
คำสำคัญ: | วิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
แหล่งอ้างอิง: | วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), หน้า 15-29 |
บทคัดย่อ: | บทความนี้เป็นการตรวจสอบวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ นำเสนอความหมาย องค์ประกอบของการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ความหมาย ลักษณะสำคัญ รูปแบบหรือแนวการสอนที่ใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ดำเนินการโดยคัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 ผลงาน ซึ่งใช้เกณฑ์คัดกรองคุณภาพ สังเคราะห์ผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการอ่านงานอย่างใคร่ครวญ ตีความ หาคำสำคัญ หาแบบแผนของผลงานวิจัยเพื่อสร้างหัวข้อโดยใช้การเปรียบเทียบข้อมูล ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้วยการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของผู้เรียนได้หลายด้าน ได้แก่ การใช้ภาษาแบบเป็นทางการ การคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว และการมีมุมมองความคิดที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำให้นักเรียนก้าวข้ามการใช้อารมณ์และสัญชาตญาณในการให้เหตุผลได้ ประเด็นทางสังคมที่นำมาใช้ในการสอนเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมจะต้องน่าสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน ไม่สามารถหาข้อสรุปหรือคำตอบที่ตายตัวได้ และเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกทางจิตใจ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประเด็นทางพันธุวิศวกรรมและการแพทย์ และกลุ่มประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริบทของผู้เรียน เช่น สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ค่านิยมทางศาสนาและความเชื่อทางวัฒนธรรม และบรรยากาศในห้องเรียน และความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนแต่ละคน |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/634 |
ISSN: | 1905-4653 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | STOU Education Journal |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License