กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6363
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดียวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องเวกเตอร์สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of multimedia computer assisted instruction program in science on the toppic [i.e. topic] of vector for vocational certificate level students at Srisaket [i.e. Si Sa Ket] Industrial and Community Edecation [i.e. Education] College
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา ศีลให้อยู่สุข, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน--ไทย
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน--ไทย--ศรีสะเกษ
วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมิเดีย วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยการอาชีพ ศรีสะเกษให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เรื่องเวกเตอร์ โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ(3) ศึกษาความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่องเวกเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพ ศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการกำหนดตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเวกค์เตอร์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เรื่องเวกค์เตอร์ และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนโดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่องเวกเตอร์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ(3) นักเรียนมี ความคิดเห็นต่อความเหมาะสมในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6363
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_82604.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons