กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6389
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลแหลมฉบังกับเทศบาลตำบลบางพระในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparison of management administration in terms of facilitating and serving the people between the Laemchabang and Bangphra Subdistrict Municipalities in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกลํ่า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริลักษณ์ สุขขุม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
เทศบาลตำบลแหลมฉบัง--การบริหาร.--ชลบุรี
เทศบาลตำบลบางพระ--การบริหาร.--ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (1) การบริหารจัดการด้านการอำนวย ความสะดวกและการให้บริการประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลแหลมฉบังกับเทศบาลตำบลบางพระใน จังหวัดชลบุรี (2) ปัญหาการบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลแหลมฉบังกับเทศบาลตำบลบางพระในจังหวัดชลบุรี (3) แนวทางการพัฒนาการ บริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชนระหว่างเทศบาลตำบลแหลมฉบัง กับเทศบาลตำบลบางพระในจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ได้นำการบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองของหน่วยงาน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามชึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการ หาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.87 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงาน เทศบาลทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง รวม 1,259 คน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึง วันที่ 10 กันยายน 2551 เก็บแบบสอบถามกลับคืนได้ 1,078 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.62 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับสถิติที่ใซัคือ ค่าร้อยละ คำเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า (1) เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ลัวน เห็นด้วยในระดับมาก ว่า ในภาพรวม เทศบาลทั้ง 2 แห่ง มีประสิทธิภาพสูงในการบริหารจัดการด้านการ อำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชน ตามแนวทางการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของ หน่วยงาน ทั้ง 4 ด้าน (2) ปัญหาที่สำคัญของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง คือ การลดระยะเวลาหรือขั้นตอนการ ปฏิบัติราชการที่ไม่ช้าเกิน รวมทั้งการดำเนินงานตามโครงการสำคัญยังไม่ประสบผลสำเร็จ และ (3) แนว ทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชน ที่สำคัญคือ เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ควรเน้นการลดระยะเวลาหรือขั้นตอนการปฏิบัติราชการที่ไม่จำเป็นและควรสนับสนุน การประเมินผลการปฏิบัติราชการโดยหน่วยงานภายนอก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6389
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110003.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons