กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6390
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Performance of basic education school board of Municipal Schools in Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
กิจจา แตงรอด, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน--ภาระงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
คณะกรรมการโรงเรียน--ภาระงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัด เทศบาลในจังหวัดตาก และ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน สังกัดเทศบาลในจังหวัดตาก โดยจําแนกตามกลุ่มของคณะกรรมการ เพศ อายุ และระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดตาก ทั้งหมด 8 โรงเรียน จํานวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตร ประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) สภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 12 บทบาทอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายบทบาทพบว่าบทบาทที่ 9 การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนประสานงานระหว่างองค์กรทั้ง ภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีสภาพการปฏิบัติงานมากและสูงกว่าบทบาทอื่นๆ ส่วนบทบาทที่ 11 การแต่งตั้งที่ปรึกษาและหรือคณะอนุกรรมการเพื่อดําเนินการตามระเบียบนี้ ตามที่เห็นสมควรมีสภาพการปฏิบัติงานมาก แต่ต่ำกว่าบทบาทอื่นๆ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ พบว่าผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนผู้ปกครอง และครู มีการปฏิบัติงานในระดับมาก ส่วนผู้แทนองค์กรชุมชน มีการปฏิบัติในระดับกลาง เมื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่โดยภาพรวม จําแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่าทั้งเพศชายและเพศหญิงมี การปฏิบัติในระดับมาก ช่วงอายุ 20 - 30 ปีมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ช่วงอายุอื่น ๆ มีการปฏิบัติในระดับมาก ระดับการศึกษาปริญญาโท ปริญญาตรี และประถมศึกษา มีสภาพการปฏิบัติงานในระดับมากส่วนระดับการศึกษาอื่น ๆ มีสภาพการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6390
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_113314.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons