Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6393
Title: การพัฒนาตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีสำหรับโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9
Other Titles: Developmet pilot Inclusive Management Schools in Network Provinces of Special Education Center Region 9
Authors: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร หวานเสร็จ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชุดา โชคภูเขียว, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 -- การบริหาร
โรงเรียน -- การบริหาร
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีสำหรับโรงเรียนแกนนา จัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีสำหรับโรงเรียนแกนนา จัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก คือ การพัฒนาตัวชี้วัด โดยการศึกษาแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่สอง คือ การตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัด เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสอบถาม ลักษณะมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนแกนนา จัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จานวน 550 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืนจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า (1) ได้ตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีสำหรับโรงเรียนแกนนา จัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จานวน 57 ตัวชี้วัด ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านนักเรียน 8 ตัวชี้วัด ด้านสภาพแวดล้อม 14 ตัวชี้วัด ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 19 ตัวชี้วัด และด้านเครื่องมือ 16 ตัวชี้วัด (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัด พบว่า มีค่าความตรง ระหว่าง .62 - 1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเรียงลำดับความสำคัญขององค์ประกอบหลักจากมากไปน้อย คือ องค์ประกอบหลักด้านกิจกรรมการเรียนการสอน องค์ประกอบหลักด้านเครื่องมือ องค์ประกอบหลักด้านสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบหลักด้านนักเรียน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6393
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124336.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons