Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6399
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | People participation in following and checking management administration of the subdistrict administrative organizations in Panusnikom District of Chonburi Province |
Authors: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ธนิดา วังขันธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกลํ่า |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน การตรวจสอบการจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) แนวทางการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคมประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ได้นำการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8 ต้าน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การพึ่งตนเอง การเสริมสร้างคุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมคู่ควบกัน การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย และ ความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.94 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพนัสนิคมรวม 1.099 คน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึง วันที่ 1 กันยายน 2551 เก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนมาได้ 1,088 ชุด คิดเป็นร้อยละ 98.99 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง (1) เห็นว่า ปัญหาที่สำคัญคือ องค์การบริหารส่วนตำบลขาดการสนับสนุนให้ประชาชนหรือตัวแทนชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบ การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) เห็นว่า แนวทางการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญถือ องค์การบริหารส่วนตำบลควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ประชาชนหรือตัวแทนชุมชนเช้าร่วมเป็นคณะกรรมการดังกล่าวอย่างชัดเจน และ (3) เห็นว่า ปัจจัยที่นีส่วนสำคัญทำให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลประสบผลสำเร็จ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลควรประชาสัมพันธ์โดยใช้หอกระจายข่าวอย่างต่อเนื่อง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6399 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
110005.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License