Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6411
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of indicators to enhance the love of reading habit for lower secondary school students
Authors: กาญจนา วัธนสุนทร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภนันท์ พหุธนพล, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการอ่าน
นักเรียนมัธยมศึกษา -- การอ่าน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ (2) ตรวจสอบตัวบ่งชี้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเครื่องมือ จำนวน 7 คน และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ่งชี้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามปลายเปิด และ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) มิติการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมี 3 มิติ รวม 96 ตัวบ่งชี้ คือ มิติที่ 1 : สถาบันครอบครัว มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การดูแลเอาใจใส่และให้ความรู้ของผู้ปกครอง 15 ตัวบ่งชี้ การเป็นตัวแบบของผู้ปกครอง 5 ตัวบ่งชี้ การเสริมแรงของผู้ปกครอง 9 ตัวบ่งชี้ การจัด สภาพแวดล้อมของผู้ปกครอง 5 ตัวบ่งชี้ มิติที่ 2 : สถาบันการศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การให้ ความรู้และพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน 7 ตัวบ่งชี้ การจัดกิจกรรม 12 ตัวบ่งชี้ การเป็นตัวแบบ 6 ตัวบ่งชี้ การเสริมแรง 7 ตัวบ่งชี้ การจัดสภาพแวดล้อม 7 ตัวบ่งชี้ และ นโยบายของสถานศึกษา 14 ตัวบ่งชี้ มิติที่ 3 : ความร่วมมือระหว่างสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา มีองค์ประกอบ เดียว คือ ความร่วมมือระหว่างสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ และ (2) ตัวบ่งชี้การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่พัฒนาขึ้นมี คุณภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ระหว่าง 0.00 - 1.00
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6411
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125486.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons