กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6442
ชื่อเรื่อง: | การจัดการของเสียตามมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Waste management according to industrial estate authority standard in Bangpa-in Industrial Estate |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาวดี มนตรีวัต ศิริวรรณ ชูแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รังสรรค์ ประเสริฐศรี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน--การกำจัดของเสีย การจัดการของเสีย--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการของเสียตามมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการ จัดการของเสียตามมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (3) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการของเสียตามมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการของเสียตามมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน (5) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการของเสียตามมาตรฐานของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน กลุ่มตัวอย่างทึ่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินจำนวน 400 คน เครื่องมีอทึ่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติทึ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดในประเด็นที่เกี่ยวกับความหมายของการบำบัดน้ำเสีย ส่วนประเด็นที่บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด คือ ประโยชน์ของใบกำกับการขนส่ง (2) ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการของเสีย ทั้งด้านการสื่อสาร การมีส่วนร่วม และแนวทางการจัดการของเสียของหน่วยงานในนิคม พบว่าอยู่ในระดับมาก (3) บุคลากรที่ทำงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมประเภทสิ่งทอ/เครื่องหนัง/เฟอร์นิเจอร์มีความรู้ความเข้าใจด้าน การจัดการของเสียตามมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินมากกว่าบุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทอื่น (4) บุคลากรทีมีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีระดับความคิดเห็นในด้านการสื่อสารข้อมูลภายใน องค์กร การมีส่วนร่วมและด้านแนวทางการจัดการของเสียสูงกว่าพนักงานที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี โดยบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดการของเสียในระดับต่ำกว่าบุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ (5) ในส่วนของข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการของเสีย แยกใด้เป็น 3 ด้านดั้งนี้ ด้านการสื่อสาร หน่วยงานอุตสาหกรรมในนิคมควรจัดทำข้อกำหนดต่างๆ ให้มีความชัดเจนเข้าใจง่าย ด้านการมีส่วนร่วม ควรส่งเสริมให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการของเสียโดยร่วมรณรงค์ให้ทิ้งขยะน้อยลง ด้านแนวทางการจัดการของเสีย หน่วยงานอุตสาหกรรมในนิคมควรมีการจัดการด้านมลภาวะทางอากาศควบคู่ไปด้วยกับการจัดการของเสียด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6442 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
110015.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License