Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/645
Title: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อนำตะกอนและไขมันจากบ่อแยกไขมันในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตขวดแก้วกลับมาใช้ใหม่
Other Titles: Implementation of cleaner technology for the recycle of sludge and oil from oil-water separator pit in wastewater treatment system of a container glass factory
Authors: ปีติ พูนไชยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมช เชี่ยวชาญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกศัย พลานนท์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ของเสียจากโรงงาน--การนำกลับมาใช้ใหม่
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเป็นการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดในการนำตะกอนและน้ำมันจากบ่อแยกไขมันของโรงงานผลิตขวดแก้วกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่ ภายในโรงงานแหล่งกำเนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเหมาะสมในการนำตะกอนกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ (2) ความเหมาะสมในการนำน้ำมันไปใช้เป็นเชื้อเพลิง (3) ศึกษามูลค่าจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดดังกล่าว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้เวลารวบรวมกลุ่มตัวอย่าง คือ ตะกอน และน้ำมันในบ่อแยกไขมัน เป็นระยะเวลา 4 เดือน นำตัวอย่างมาวิเคราะห์หาปริมาณการเกิดตะกอนและน้ำมันเทียบกับปริมาณการผลิตแก้ว และปริมาณของน้ำเสีย และนำตะกอนมาวิเคราะห์ส่วนประกอบเคมีและขนาดของตะกอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ X-Ray Spectrometer เครื่องวัดความชื้นและเครื่องชั่ง ในการศึกษาได้ดำเนินการป้อนตะกอนเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตขวดแก้ว ร่วมกับวัตถุดิบอื่นๆ โดยใช้กระบวนการผลิตตามปกติของโรงงาน ได้แก่ กระบวนการผสมวัตถุดิบ กระบวนการหลอมแก้ว กระบวนการขึ้นรูปขวดแก้ว กระบวนการตรวจสอบคุณภาพขวดแก้วของโรงงาน และดำเนินการป้อนน้ำมันผสมกับน้ำมันเตาในถังเก็บน้ำมัน ป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงผสม เข้าสู่กระบวนการเผาไหม้ในเตาหลอมของโรงงาน และตรวจวัดอากาศเสียที่ระบายออกจากปล่องควันเตาหลอม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบที่ทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ตะกอนมีส่วนประกอบของ Fe,O สูง ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัตถุดิบแก้วสีขาวแต่สามารถใช้ได้สำหรับการผลิตแก้วสีชา ในอัตราส่วนร้อยละ 3 ขวดแก้วที่ผลิตได้ทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต ยังอยู่ในมาตรฐานของโรงงาน (2) น้ำมัน มีค่าความร้อนจําเพาะสูง มีกำมะถัน และเถ้า เหมาะที่จะป้อนผสมไปกับน้ำมันเตา ในอัตราส่วนร้อยละ 3.5 ของปริมาณการใช้ คุณภาพอากาศเสียที่ระบายออกปล่องไอเสีย อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ปล่อยออกได้ตามกฎหมาย (3) การนำตะกอนและน้ำมันกลับมาใช้ใหม่ จากการเก็บตัวอย่าง 4 เดือน มีมูลค่า 391,100 บาท หรือ 1,173,300 บาท/ปี
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/645
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108737.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons