กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6453
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีราชินูทิศจังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance activities package based on the behaviorism theory on public mindedness behaviors of Mathayom Suksa II Students at Satri Rachinuthit School in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทรัพย์ ชื่นในเมือง, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมการช่วยเหลือในเด็ก
นักเรียนมัธยมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การแนะแนว -- เครื่องมือ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ ของกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามหลักการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และ (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2553 ที่ได้รับการประเมินจากครูประจำชั้นว่าควรได้รับการพัฒนาจิตสาธารณะ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยดำเนินการกับกลุ่มทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตาม หลักการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ50 นาที เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามหลักการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (2) แบบวัด พฤติกรรมการมีจิตสาธารณะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามหลักการของทฤษฎี พฤติกรรมนิยม นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ภายหลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับการฝึก ด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวตามหลักการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีจิตสาธารณะโดยแยกตามราย องค์ประกอบของจิตสาธารณะ 3 องค์ประกอบ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6453
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125698.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons