กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6461
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of performance assessment on open airway with bag mask ventilation by Nurse Anesthetist Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐิติมา ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภิญญา ติวิรัช, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
การรักษาทางเดินหายใจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจ และช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล และ (2) ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิด ทางเดินหายใจ และช่วยหายใจนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิสัญญีพยาบาลสังกัดคณะ แพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน ซึ่งใช้วิธีเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วย หายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล (2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการเปิด ทางเดินหายใจและช่วยหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า แบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของ นักศึกษาวิสัญญีพยาบาล มีดัชนีความสอดคล้องความตรงเชิงเนื้อหา ตั้งแต่ 0.86-1.00 ความตรงเชิง เหมือนซึ่งคำนวณจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนทฤษฎีกับคะแนนปฏิบัติเท่ากับ 0.035 (t = 0.841) หลังจากฝึกปฏิบัติผ่านไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน ค่าความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นเป็น 0.363 (t = 0.032) ความตรงเชิงจำแนกคำนวณจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของแบบทดสอบสูติศาสตร์กับ คะแนนปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจมีค่าเท่ากับ -0.009 (t = 0.960) ความตรงเชิง จำแนกโดยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด พบว่ากลุ่มเก่ง มีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มอ่อนอย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (t = 4.407, p = 0.01) ความเที่ยงของแบบประเมินโดยการวัดซ้ำ พบว่า คะแนนการวัดครั้งที่ 1 สัมพันธ์กับคะแนนการวัดครั้งที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r = 0.921, p = 0.000) ความเที่ยงของการให้คะแนนโดยผู้ประเมิน 2 คน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (r = 0.975, t = 0.000)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6461
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127946.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons