Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6465
Title: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา |
Other Titles: | Effects of using a guidance activities package for development of perseverance behaviors of Mathayom Suksa II students of Chanachanupatham School in Songkhla Province |
Authors: | เจียรนัย ทรงชัยกุล บุษกรณ์ สุวรรณรัตน์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วัลภา สบายยิ่ง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา--นักเรียน--กิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาขั้นมัธยม--กิจกรรมการเรียนการสอน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวอื่น ๆ (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนต่างกัน (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีภูมิหลังทางชีวสังคมต่างกันกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม 2 ห้องเรียน จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มได้กลุ่มละ 30 คน และสุ่มเพื่อกำหนดกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามภูมิหลังทางชีวสังคม แบบวัดพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร จำนวน 10 กิจกรรม และกิจกรรมแนะแนวอื่น ๆ จำนวน 10 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทางผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร มีพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่มีลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนต่างกัน เมื่อได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร ได้รับประโยชน์จากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่มีเพศ ผลการเรียนเฉลี่ย และรายได้ของครอบครัวต่างกัน เมื่อได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร ได้รับประโยชน์จากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมขยันหมั่นเพียรเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6465 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127974.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License