กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6469
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดอบรมทางการแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของพ่อแม่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using a guidance training package to develop emotional intelligence of Mathayom Suksa III students' parents at Chainat Phittayakhom School in Chainat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทนา บรรณทอง, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
ความฉลาดทางอารมณ์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของพ่อแม่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการฝึกอบรมทางการแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาด ทางอารมณ์ และ (2) เปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของพ่อแม่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จังหวัด ชัยนาท ปีการศึกษา 2553 ได้มาจากการให้นักเรียนตอบแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อความ ฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยรุ่นตอนต้น แล้วระบุนักเรียนที่มีคะแนนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 40 คน พ่อแม่ของนักเรียน 40 คนนี้ถือว่าเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ต่อจากนั้นสุ่มอย่าง ง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน พ่อแม่ของนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการฝึกอบรม โดยชุดฝึกอบรมทางการแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ขณะที่พ่อแม่ของนักเรียนกลุ่มควบคุม ดู VCD เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) ชุดฝึกอบรมทางการแนะแนวเพื่อ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (2) VCD เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ และ (3) แบบประเมินความฉลาด ทางอารมณ์มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) พ่อแม่ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้ารับการฝึกอบรมทาง การแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และ (2) พ่อแม่ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้ารับการฝึกอบรมทางการแนะแนวเพื่อพัฒนา ความฉลาดทางอารมณ์ มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าพ่อแม่ของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ดู VCD เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6469
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128222.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons