Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6474
Title: การพัฒนารูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย
Other Titles: Development of the entrepreneurial capability model on medium-sized enterprises in Thailand
Authors: ทรงพร หาญสันติ
ประสาน นันทะเสน, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปราโมทย์ ลือนาม
สุรีย์ เข็มทอง
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ-- วิทยานิพนธ์
ความสามารถทางการบริหาร
องค์กรธุรกิจ--การบริหาร
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (2) พัฒนา และเปรียบเทียบรูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ วิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 288 บริษัท คำนวณจากอัตราส่วนของจานวนตัวอย่างต่อตัวแปร ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม LISREL ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 12 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (1) รูปแบบความสามารถในการประกอบการสาหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 86.88, df = 69, p = 0.001, GFI = 0.96, AGFI = 0.94) และ (χ2 = 99.78, df = 67, p = 0.001, GFI = 0.95, AGFI = 0.92) ตามลำดับ แสดงว่ารูปแบบความสามารถในการประกอบการที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน (2) รูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอมีรูปแบบเหมือนกัน คือ ปัจจัยทางด้านการจัดการ ปัจจัยทางด้านการเป็นผู้ประกอบการ และปัจจัยทางด้านเทคนิคมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ พบว่าปัจจัยด้านการจัดการมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกในระดับมากที่สุด ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ พบว่า ปัจจัยด้านเทคนิคมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6474
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157144.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons