กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6474
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the entrepreneurial capability model on medium-sized enterprises in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรงพร หาญสันติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ ลือนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประสาน นันทะเสน, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
ความสามารถทางการบริหาร
องค์กรธุรกิจ -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสามารถ ในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (2) พัฒนา และเปรียบเทียบรูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทยระหว่าง วิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ วิสาหกิจขนาด กลางที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 288 บริษัท คำนวณจากอัตราส่วนของ จานวนตัวอย่างต่อตัวแปร ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม LISREL ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 12 ราย และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (1) รูปแบบความสามารถในการประกอบการสาหรับวิสาหกิจขนาด กลางในประเทศไทยที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 86.88, df = 69, p = 0.001, GFI = 0.96, AGFI = 0.94) และ (χ2 = 99.78, df = 67, p = 0.001, GFI = 0.95, AGFI = 0.92) ตามลำดับ แสดงว่ารูปแบบความสามารถในการประกอบการที่พัฒนาขึ้นกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกัน (2) รูปแบบความสามารถในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ในประเทศไทยที่จดทะเบียนและไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอมีรูปแบบเหมือนกัน คือ ปัจจัย ทางด้านการจัดการ ปัจจัยทางด้านการเป็นผู้ประกอบการ และปัจจัยทางด้านเทคนิคมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ ความสามารถในการประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิสาหกิจขนาดกลางที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ พบว่าปัจจัยด้านการจัดการมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกในระดับมากที่สุด ส่วนวิสาหกิจ ขนาดกลางที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ พบว่า ปัจจัยด้านเทคนิคมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกใน ระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6474
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157144.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons