กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6487
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะของเทศบาลเมืองระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in the gabage [i.e. garbage] problem solving of Mueang Ranong Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกนรินทร์ แก้วประดิษฐ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
การกำจัดขยะ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
ขยะ--การจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การแก้ไขปัญหาขยะของเทศบาลเมืองระนอง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะของเทศบาลเมืองระนอง และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะของเทศบาลเมืองระนอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่ศึกษาเป็นประชาชนในเขต เทศบาลเมืองระนอง กสุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าความ เที่ยงตรงเท่ากับ 0.81 และค่าความน่าเชื่อถือเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย คำเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา ขยะของเทศบาลเมืองระนอง นั้น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ (2) ปัจจัยที่มี ผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะของเทศบาลเมืองระนองใด้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ ประกอบด้วย เพศ ศาสนา ที่อยู่อาศัย ระยะเวลาอยู่อาศัย และบทบาทในชุมชน และปัจจัยการมี ส่วนร่วมประกอบด้วยการประเมินผลการแก้ไขปัญหา การลงมือดำเนินการแก้ไขปัญหา การคิค และตัดสินใจเลือกแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์สกาพชุมชน ปัญหา และหา สาเหตุของปัญหาและการรับผลประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาโดยมีควานสัมพันธ์เชิงบวกกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ (3) สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะใด้แก่ ประชาชนขาดจิตสำนึกและไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาขยะ ประชาชนขาดความรู้เรื่อง การแก้ไขปัญหาขยะ และขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานราชการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6487
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110156.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons