กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6492
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Customers' behavior and factors affecting the purchasing decision of mobile phone network in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราวไล ศรีสุนาครัว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
โทรศัพท์เคลื่อนที่--พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
โทรศัพท์เคลื่อนที่--การจัดซื้อ.--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ บริการในเขตกรุงเทพมหานครและ (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดซึ่งมีผลการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้คือประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 5,695,956 คน โดยใช้การ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน, การทดสอบค่าที, การทดสอบค่าเอฟ และ ไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.0) และมีอายุ ระหว่าง 19-22 ปี (ร้อยละ 27.3) มีรายได้ต่อเดือน 5.001 - 10.000 บาท (ร้อยละ 39.5) ระดับการศึกษาคือระดับมัธยมศึกษา/ปวช. (ร้อยละ 35.0) อาชีพคือนักเริยน/นักศึกษา (ร้อยละ 39.0) และมีสถานภาพโสด (ร้อยละ 61.0) จาก ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยพบว่ามีการเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ AIS อันดับที่ 1 (ร้อยละ 49.0) ระยะเวลาในการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คือใช้น้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 49.8) ส่วนใหญ่เลือกใช้ะบบเติมเงิน (ร้อยละ 83.0) ค่าใช้จ่ายในการใช้ต่อเดือน คือ 300 - 600 บาท (ร้อยละ 46.0) ช่วงเวลาที่ใช้โทรคัพท์บ่อยที่สุดคือ เวลา 18.01-21.00 น. (ร้อยละ 46.2) ส่วนระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์เฉลี่ยสูงสุดวันละ 3- 4 ครั้ง (ร้อยละ 38.8) โดยมากกว่าครั้ง (ร้อยละ 51.8) ใช้โทรศัพท์เฉลี่ยแต่ละครั้งน้อยกว่า 5 นาที มากที่สุด (2) จากผลการวิเคราะห์ระดับการตัดสินใจเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก อันได้แก่ ด้านผลิตกัณฑ์(ค่าเฉลี่ย=3.86) ด้านราคา (ค่าเฉลี่ย=3.60) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย=3.49) ด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย=3.75) ด้านบุคคล (ค่าเฉลี่ย=3.38) และด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย=3.42) ยกเวันด้านลักษณะทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย=3.36) ที่มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นอยู่ระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (1) มีความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้ อาชีพและ สถานภาพสมรสกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับพฤติมกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6492
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
110369.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons