Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/649
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorขนิษฐา แก้วกัลยา, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-17T03:04:53Z-
dc.date.available2022-08-17T03:04:53Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/649-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลกองทัพบก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ การศึกษานี้เป็นแบบอรรถาธิบายประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี รวมจำนวน 226 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามได้พัฒนาและปรับปรุงจากผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ เครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยง โดยมีค่าความเที่ยงด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และด้านความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การเท่ากับ .93 และ .81 ตามลำดับ ได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมาทั้งสิ้น 182 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80.5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา (1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกองทัพบก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด และเป็นข้าราชการประจำ มีอายุเฉลี่ย 30.73 ปี และประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 6.44ปี ภาพรวมของการเสริมสร้างพลังอำนาจอยู่ในระดับสูง ส่วนระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง เช่นกัน (2) อายุและประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ (r= 0.173 และ 0.154 ตามลำดับ) ส่วนสถานภาพสมรส และตำแหน่งไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสัาลัญทางสถิติ (r = 0.375) เมื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานหลายด้านพบว่าการได้รับอำนาจ และการได้รับโอกาส มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันธ์ต่อองค์การ (r= 0.336 และ 0.367 ตามลำดับ) (3) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและอายุ สามารถพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยมีประสิทธิภาพการพยากรณ์ร้อยละ 23.6 (R2 = 0.236)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2004.115-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลกองทัพบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือth_TH
dc.subjectอำนาจ (สังคมศาสตร์)th_TH
dc.subjectความผูกพันต่อองค์การth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกองทัพบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือth_TH
dc.title.alternativeRelationships between personal factors, job empowerment, and organization commitment of professional nurses of Northeast Army Hospitalsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2004.115-
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารโรงพยาบาล)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to describe personal characteristics, job empowerment, and organization commitment; (2) to study the relationships between personal factors, job empowerment and organization commitment; and (3) to identify predictors of organization commitment of professional nurses in Northeast Army Hospital. Study samples were two hundred and twenty six professional nurses from prajaksilapakom, Subprasittiprasong, and Suranaree Army Hospitals. Study instrument developed by the researcher were Personal factors, Jop empowerment (JE), and Organization commitment (OC) Questionaires. Those questionaires were test for the content validity by nursing experts and tests for reliability. The alpha of JE and OC were .93 and .81, respectively. One hundred eighty two respondents reterned the completed questionnaires with response rate of 80.5% .Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson, product moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression. Major findings were as follows: (1) Most professional nurses were single and permanent bureaucratic. The mean of their age and working experience were 30.73 years old and 6.44 years respectively. The mean scores of overall job empowerment were at high level Also the mean scores of organizational commitment were at high level (2) Age and working experience were positive and significantly related to Organization commitment (r=0.173 and 0.154, respectively) while marital status and position level were not related to Organization commitment. Job empowerment was significantly and positively related to Organizational commitment (r=0.375). Acording to each subseal of job empowerment, power and opportunity were also correlated with organizational commitment (r=0.336 and 0.367, respectively). (3) Job empowerment and age were predictors of Oganization commitment. Those were accounted for 23.6% of the varianceen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86590.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons