Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/649
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกองทัพบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Relationships between personal factors, job empowerment, and organization commitment of professional nurses of Northeast Army Hospitals
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา
ขนิษฐา แก้วกัลยา, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พาณี สีตกะลิน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลกองทัพบกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อำนาจ (สังคมศาสตร์)
ความผูกพันต่อองค์การ
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลกองทัพบก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ การศึกษานี้เป็นแบบอรรถาธิบายประชากรที่ศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี รวมจำนวน 226 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามได้พัฒนาและปรับปรุงจากผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ เครื่องมือได้ผ่านการทดสอบความเที่ยง โดยมีค่าความเที่ยงด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และด้านความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การเท่ากับ .93 และ .81 ตามลำดับ ได้รับแบบสอบถาม กลับคืนมาทั้งสิ้น 182 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80.5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา (1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกองทัพบก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด และเป็นข้าราชการประจำ มีอายุเฉลี่ย 30.73 ปี และประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 6.44ปี ภาพรวมของการเสริมสร้างพลังอำนาจอยู่ในระดับสูง ส่วนระดับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง เช่นกัน (2) อายุและประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ (r= 0.173 และ 0.154 ตามลำดับ) ส่วนสถานภาพสมรส และตำแหน่งไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสัาลัญทางสถิติ (r = 0.375) เมื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานหลายด้านพบว่าการได้รับอำนาจ และการได้รับโอกาส มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันธ์ต่อองค์การ (r= 0.336 และ 0.367 ตามลำดับ) (3) การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและอายุ สามารถพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยมีประสิทธิภาพการพยากรณ์ร้อยละ 23.6 (R2 = 0.236)
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/649
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86590.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons